วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

640421_พุทธศาสนาตามภูมิ - เจโตปริยญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร

รายการพุทธศาสนาตามภูมิ
วันพุธที่ 21 เมษายน 2564

ณ บวรราชธานีอโศก

สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก ตอนนี้เมืองไทยระมัดระวังเรื่อง covid เป็นอย่างมาก แต่คนไม่ค่อยระมัดระวังเรื่องกิเลส ตอนนี้กรุงเทพฯก็มีสนคนป่วยมากจนบางโรงพยาบาลก็ไม่รับคนป่วยเพิ่ม พวกเราชาวอโศกก็ต้องระมัดระวัง ถ้าเราไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ต้องไปไหน อยู่ในนี้มีให้ครบหมดแล้ว ฟรีทุกอย่างด้วย ไม่ต้องไปดิ้นรนหาสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร วันนี้ผู้ว่าฯก็มาคุยกับพวกเราตอนเช้า

 

โลกุตระจะมีความดังอย่างเรียบๆตามเหตุปัจจัย

พ่อครูว่า…เอาอันนี้มาอ่านก่อนเลย …

_เข่ง : กราบนมัสการ พ่อท่านค่ะ มีความรู้สึกขึ้นมาว่า คำสอนของพ่อท่านจะดังขึ้นในไม่ช้านี้ค่ะ เพราะว่าขณะนี้ทุกวันนี้มีคนออกมาแสดงเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระศรีอาริย์บ้าง อะไรๆ ก็จะออกมา ของไม่แท้ปลอมออกมามากๆ ทำให้คนอยากรู้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงไหนหนอ ตอนนั้นแหละคำสอนของพ่อท่านจะดังขึ้นมาอย่างแน่นอน เพราะมีเหตุปัจจัยให้แสดงออกมาค่ะ กราบพ่อท่านค่ะ

พ่อครูว่า…อ้าว อยากดังหรือ? เป็นคนดัง อย่าหวังความสงบ ไปดิ้นทำไม มันจะดังก็ดังของมันเอง มันจะดังด้วยเหตุปัจจัยให้มันดัง ถ้ามันดังสิน่ากลัว เพราะว่ามันจะฮือฮา งานจะเยอะ คนมะรุมมะตุ้ม มันจะหนัก เพราะฉะนั้นไปเรื่อยๆแล้วก็ได้เรื่อยๆ ตามลำดับๆๆ อย่างน่าอัศจรรย์ ได้ไปโดยตามเหตุปัจจัยที่ควรจะเป็น สวยที่สุดกว่า

สมณะฟ้าไท..ผมดูธรรมะโลกุตระที่พ่อครูพาทำ มันจะค่อยๆดังค่อยๆขึ้น แต่พวกไม่ใช่โลกุตระมันจะหวือหวาทำให้คนที่ทำหลงไปได้ง่าย

พ่อครูว่า…ไปตามลำดับเรียบๆเป็นไปของมันเอง ไปถึงจุดหนึ่งที่เราเรียกว่ามันเจริญมากหรือเรียกด้วยศัพท์ว่าดังก็แล้วแต่ เมื่อนั้นเหตุปัจจัยก็จะมีทั้งผู้ช่วยผู้สนับสนุน ผู้ที่เข้าใจก็จะกระจายงาน กระจายความรับผิดชอบออกไป มันก็จะเบาหมดเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปตกอกตกใจอะไรเลย อย่าอยากดัง ไม่ต้องอยากหรอกดัง ถ้ามันดังก็เป็นเรื่องสมเหมาะสมควรของมันส่วนใครที่เห็นว่ามันมีน้ำหนักจึงมีความเหนือ จึงมีความเด่นจริง เขาจะเรียกลักษณะนั้นว่าดัง มันเป็นการครบองค์ประกอบของมัน ในหมู่คณะอื่นๆเทียบแล้ว มันเป็นจริงก็เป็นธรรมดาจะเป็นของมันเอง

 

SMS วันที่ 19-20 เม.ย. 2564

 

_Focus Tan โฟกัส แทน : ThaiPBSข่าวว่า เหตุการณ์ที่คนใกล้ชิด ระบุว่าพระรูปที่ตัดศีรษะถวายเป็นพุทธบูชา วางแผนกระทำการดังกล่าวมานานกว่า 5 ปี ขณะที่ พระชั้นผู้ใหญ่แสดงความเห็นว่าการกระทำดังกล่าว มีความผิดตามพระธรรมวินัยถึงขั้นปาราชิก ไม่พบมีคำสั่งสอนในพระไตรปิฎก...

พ่อครูว่า…ก็เป็นเรื่องวิตถาร แปลกๆกัน  สามัญเขาก็วิตถารอยู่แล้ว ใกล้จะมีความคิดความเห็นอย่างนั้นมันก็เป็นน้อยเป็นส่วนน้อย ธรรมดาสามัญ ก็ไม่เป็นกันหรอก เราเห็นว่ามันแปลกวิตถาร มันเกิน ไปในทางรุนแรง จะมองไปในแง่เด่น ก็โก้ดี ตัดเศียรถวายพระพุทธเจ้า ทำรูปเท่เลย มันก็เกินไป ก็เอา คนที่ชอบๆในเรื่องที่วิตถาร เรื่องแปลก ไม่เหมือนใคร เด่นโด่งดังก็แล้วแต่

 

_มั่นใจพุทธ บุญเสร็จ : ไม่ติดการปรุงแต่งของอาหาร แต่ยังมีความเพลิดเพลินในการกินอาหารที่ไม่ปรุงแต่ง จนบางครั้งเกินความพอดี แบบนี้จะแก้ไขอย่างไรเจ้าค่ะ

พ่อครูว่า…ก็รู้อยู่แล้วว่าเราเกินพอดี เกินพอดีมันไม่ดีเราก็ลด ถ้าลดลงมันก็จะพอดีเองจะติดหรือไม่ติดก็ไม่เป็นไร จะเพลิดเพลินพอดีพอดีก็ไม่เป็นไร แต่การรู้ว่าตัวเองเพลินนี้ดีอยู่ ดีกว่าไม่รู้ตัวหลงตัวเอง เพลิดเพลินไปหลงเข้าเดียวก็จะติดยึด

 

_ฟ้าพรห์มไพร นาวาบุญนิยม : ผ่านไปกี่ปีสิกขมาตุสัจฉิกตา ก็หน้าตาเหมือนเดิมนะคะ..กราบนมัสการค่ะ

พ่อครูว่า…ก็ดูไป ดูพวกเราชาวอโศกไมแน่หรอก ต่อไปอาตมาอาจจะหน้าตาไม่เหมือนเดิม อาจจะแก่ลงไง มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าพลิกล็อคกลับมาหนุ่มขึ้นก็ดูเอา

 

ระวังอย่าหลงความละเลียดของภาษาทำให้เข้าถึงสภาวะฌานได้ช้า

_ฟังฝน : ขอกราบเรียนถามพ่อครู พ่อครูเทศน์ ปฏิจจสมุปบาท ชาติ 5 โดยพิสดาร วันที่ 19 เมษายน 2564 เวลาที่ 1.29.15 ช.ม. ความว่า

ฌาน 1 เผากิเลสไปได้ประมาณหนึ่ง

ฌาน 2 เผากิเลสไปได้อีก 

ฌาน 3 เผากิเลสไปได้อีก

ฌาน 4 เผากิเลสได้หมด

 

กิเลสบางเหตุปัจจัย เราสามารถเผาได้สนิทและหมดจด เป็นฌาน 4 ประเด็นนี้เข้าใจได้ง่าย   กราบเรียนถาม  3  คำถามดังนี้

 

1. บางเหตุปัจจัยกิเลสมีพลังงานสูง แม้จะเดินโพชฌงค์ 7 มรรค 8 จรณะ 15 จัดการกับกิเลสแล้ว แต่ยังไม่สามารถลดพลังงานกิเลสได้หมด ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาหลักธรรมและฝึกฝนต่อเพื่อแก้ไขปรับพฤติกรรมของตนให้อยู่ในกรอบของศีลให้มั่นคงและแข็งแรง ... เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ...

(ก.) กิเลสถูกเผาไปเท่าไร อยู่ระดับฌาน 1 ฌาน 2 หรือฌาน 3  หรือ

(ข.)ใช้การประมาณพลังงานกิเลสที่ถูกเผาไปประมาณร้อยละ 25, 50 และ 75 เป็นฌาน 1 ฌาน 2 และฌาน 3 ตามลำดับคะ

พ่อครูว่า…ตอบ ใครจะไปรู้กับคุณได้ คุณใช้การประมาณของคุณเอง มัตตัญญุตา ประมาณเอง คุณพูดตัวเลขมาก็เป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้ คุณก็เข้าใจวิธีการอะไรทั้งนั้นเลยไม่น่าถามอาตมาหรอก คุณก็ไปอ่านจิตของคุณจริงๆสิ ประมาณจริงๆสิ ว่า ฌาน 1 นี้กิเลส 25% มันเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่จะประมาณไหน ครึ่งหนึ่งเป็น 50% เกินครึ่งไป 75%  4 ส่วนก็หมด คุณก็เอาแต่พยัญชนะมาถามอาตมา ทั้งๆที่คุณรู้มาตรวัด รู้จักอัตราส่วนทุกอย่างแล้ว คุณก็อ่านของจริงแล้ว ก็เรียนจากของจริง อย่ามาถามอาตมาให้ฉลาดน้อยใช่ไหม

2. จากข้อ 1 ใช้หลักธรรมใดเป็นมาตรวัด ฌาน 1 ฌาน 2 และฌาน 3

สู่แดนธรรมว่า...พระพุทธเจ้าตรัสแนวทางให้ตรวจสอบ ถ้ายังมีสิ่งที่ต้องจัดการมากที่เรียกว่า ยังมีวิตกอยู่ วิจารอยู่ มีปีติเกิด แล้วก็มีความวิเวก อย่างนี้ ก็เป็นหลักเกณฑ์ว่าขณะนี้เราต่อสู้ในระดับฌานที่ 1 จนกว่าเราไม่มีวิตกวิจารแล้ว สบายแล้ว เป็นเหมือนจอมยุทธที่วางได้แล้ว ก็มีหลักเกณฑ์ให้ตรวจเอาไว้อย่างนี้

พ่อครูว่า…ถูกต้อง ฌานที่ 1 มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา จิตรวมเป็นหนึ่ง ไม่แตกกระสานซ่านเซ็น ฌานที่ 1 การสังเคราะห์สังขารจัดการกันอย่างเต็มรูปแบบ มันเป็นหนึ่งได้ เอกัคคตา ไม่กระจาย เช่น จับตัวกิเลสได้มันก็จะรู้ว่ากิเลสมีประมาณไหน ลักษณะไหน กิเลสมันดิ้นมันแสดงตัวเต็มตัว เสร็จแล้วคุณก็ทำให้มันลดได้ คุณลดได้ประมาณหนึ่ง พอสมควรเลย ถ้าแบ่งเป็น 4 ส่วนเป็น 1 ส่วน 4 คุณก็ดีใจที่มันลดได้ คุณก็จะเทียบได้ว่าตอนต้นกับตอนที่ 2 มันต่างกัน เออ ต่างกันนะ พอใจยินดี ก็จะมีกำลังของปิติขึ้นมาอย่างชัดเจนว่าทำได้ๆ ถูกแล้ว อันนี้เข้าท่าแล้ว อย่างนี้

เสร็จแล้วอันที่ 3 อันที่ 4 ที่จริงอันที่ 3 ที่ท่านว่า สุขะ คือ ความสงบ อุปสโมสุข หรือมันว่างเบาลง จากอาการดีใจที่เป็นมิติ ที่มันขึ้นแรงมันก็เบาลง พอถึงฌาน 3 ผู้รู้ท่านก็จะบอกว่า จะมีอาการมันสงบลงมาแล้ว มันจะไปหาเฉยๆ อุเบกขา

เพราะฉะนั้นเริ่ม ฌาน 3 จะมีอาการที่จะวางเฉยเป็นตัวเฉยๆ เริ่มเข้ามาให้เห็นเลยว่าอาการนี้เข้ามาเพิ่มมาใส่ใน ฌาน ประมาณส่วนที่ 3 ที่แบ่งพลังงานระดับที่เป็นมาตร เป็นอัตราส่วนเป็นทฤษฎีเป็นสูตรให้เรารู้อาการ แล้วใช้สังขยาเลข แล้วใช้ประมาณการตรงนี้เท่าที่พระพุทธเจ้าสอน เราก็เข้าใจในวิธีคำนวณแบ่งส่วนพวกนี้ เรารู้ดีแล้วมันก็จะลดลงจริงๆ ก็จะเป็นสภาวะ มีอาการดังที่อาตมาอธิบาย

จนมันเป็นฌานที่ 3 เก่งขึ้นไป ว่าจะเข้าหาอุเบกขา

พอฌานที่ 4 อุเบกขาก็จะเต็มรูป

อุเบกขาคืออะไร คือกิเลสมันหมดเกลี้ยงไปจนจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ปริสุทธา ก็จะบริสุทธิ์เข้าไปนิ่งสบาย เห็นแจ้งเต็มรูป จิตก็เต็มรูปสว่างไสว มีพลังงานเต็ม ไม่ใช่ยิ่งแข็งทื่อยิ่งมืดไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ แต่ยิ่งรู้แจ้งรู้สว่างรู้เต็ม รู้อย่างเต็มรูปเลย ตื่น แล้วก็ไม่ใช่ฌานหลับตาด้วย เป็นฌานลืมตา เห็นทุกอย่างครบอยู่ แล้วก็เห็นจิตตัวเองเลยว่า จิตเราสะอาด ตัวกิเลสมันหายไป จิตบริสุทธิ์ คุณก็จะเห็นสภาวะจริงพวกนี้

ระวังอย่าไปหลงวิชาการ หลงอัตตา หลงวิธีการ หลงคำอธิบายละเอียดต่างๆมากจนกระทั่ง ไปงมอยู่แต่ไอ้บัญญัติอันละเลียดต่างๆนั้นน่ะ จนกระทั่งอ่านสภาวะของตนไม่ออก อ่านสภาวะไม่เป็นเหมือนอย่างที่นักปราชญ์ของศาสนานั่นแหละ โดยเฉพาะสายพุทธคำสอนของพระพุทธเจ้าละเอียดละออมากมาย ไปงมอยู่นั่นแหละยังไม่พอ แถมเอาคำสอนเพิ่มเติมที่ขยายความเพิ่มอีก จากอาจาริยวาท จากอรรถกถาจารย์ ผู้รู้อีกเยอะแยะก็เลยช้ามาก ผู้นี้จะติดอยู่และช้ามาก เพราะมันเยอะ มันละเลียดละเอียด จนหยิบความรู้ที่ตัวเองมีมากหลายเอามาตรวจสอบยังไม่ทันเลย ว่าไปถึงไหนแล้ว ผู้ที่หลงบัญญัติมากรู้มากช้านานยากนานเป็นอย่างนี้แหละ มีอยู่หลายคนในพวกเรามีอุปนิสัยพวกนี้ ชอบใจติดใจในรายละเอียดอันพิสดารอันวิจิตรลึกซึ้งอะไรมากมายเกินจนกระทั่ง ไม่ค่อยดิ่งเข้าหาสภาวะ ให้เป็นหลัก

สิ่งเหล่านี้ถ้าจะว่าแล้วบัญญัติเป็นรอง สภาวะจริงเป็นหลัก เพราะฉะนั้นคนที่ดิ่งเข้าไปหาสภาวะจริง บางทีไม่ละเอียดดีหรอก แต่เขาจบแล้ว เขานิ่งเขาดับแล้ว ตรวจอีกทีมันมีเศษเล็กเศษน้อยก็ค่อยๆเก็บไปอย่างนี้ มันจะไม่เสียเวลาไปงมอยู่กับอะไร โดยเฉพาะบัญญัติมันไม่เข้าหาตัวสภาวะแท้ คงพอเข้าใจนะ

 

เจโตปริยญาณ 16 ภาคพิสดาร

3. หากใช้ เจโตปริยญาณ 16 เป็นมาตรวัด กราบเรียนพ่อครูช่วยอธิบายรายละเอียดด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณพ่อครูมาด้วยความเคารพอย่างสูง

กราบขอบพระคุณท่านมาด้วยความเคารพอย่างสูง

พ่อครูว่า…เอ้าทวนอีกหน่อย

เจโตปริยญาณ 16 เป็นมาตรวัดสำคัญเลย ในสติปัฏฐาน 4 ข้อ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

กายในกาย เริ่มต้น ถ้าผู้เข้าใจกายผิดเป็นมิจฉาทิฏฐินี่ ก็หมดหวังปิดประตูล้มละลายไปตั้งแต่ต้น เดี๋ยวนี้เยอะจริงๆให้เข้าถึงกายที่ถูกต้อง มิจฉาทิฏฐิไม่รู้ กายของตน ไม่รู้สักกายของตน ที่เป็นจิตเจตสิก รูป (สิ่งที่ถูกรู้) แล้วปฏิบัติให้ถึงนิพพาน

ถ้าเผื่อว่า ไม่สามารถรู้กายอย่างถูกต้อง รู้กายถูกต้องแล้ว จะเข้าถึงเวทนา

แยกเวทนาออกเป็น 108 แล้วก็สามารถอ่าน แยกมีสูตรทฤษฎีเจโตปริยญาณอ่านจิตในจิต 16 ก็คือ 8 คู่ เปรียบเทียบกันไป

คู่ที่ 1 2 3 จาก 3 คู่ก็เป็น 6 แล้ว

สราค สโทส สโมห วีตราค วีตโทส วีตโมหะ

ส คือ มี วีต คือ ไม่มี หมดไป

สราค คือ มีราคะอยู่ ผสมผสานกันอยู่ ก็ทำให้ราคะหมดไป ไม่มีก็คือวีตราค

 

คู่ที่ 4 สังขิตตังจิตตัง กับวิกขิตตังจิตตัง

สังขิตตังจิตตัง เป็นจริตพวกศรัทธา หรือคุณทำสภาวะของคุณเป็นลักษณะของการกระจุกตัว ถ้า วิกขิตตังจิตตัง ก็กระจายตัว

มีการกระจุกตัวกับกระจายตัว กระจุกตัวเป็นก้อนตีไม่ค่อยแตกแยกไม่ค่อยออกหรือกระจายตัวจะไม่ค่อยติดฟุ้งไปฟุ้งมา คุณก็รู้คู่นี้ ว่ามันได้สัดส่วนที่ต้องค่อยๆคลี่ออกได้ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) คลี่กระจายขยายความออกได้นะ ไม่จับตัวเป็นกระจุกจนตีไม่ออกแยกไม่ได้

ยิ่งไปสมมุติอีกว่าอย่าไปตีแตกแยกแยะอะไร โดยเฉพาะจิตเจตสิกต่างๆ โดยเฉพาะเทวะ อย่าไปแยกเป็นเทวะ 2 เป็นอันขาด จนถึงเทวะใหญ่ที่สุดเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ห้ามแยกเลยนี่ อธิบายเรื่องไปแวะไปถึงท่านหน่อย จบเลย ไปติดยึดอะไรไว้ บูชาเคารพเป็นเทวนิยมไปไม่ออก คนนี้ไม่มีทางจบ

ถ้าสามารถไปรู้ว่าอันนี้เป็นลักษณะ สังขิตตังจิตตัง กับ วิกขิตตังจิตตัง ก็ทำให้มันได้สัดส่วนที่ไม่กระจุก ให้มันแยกกันได้ เคลียร์ได้เรียนรู้ได้จับมาทีละคู่รู้ได้ คำว่าทีละคู่ เทวะ สภาวะสองนี่แหละ เทวธัมมา นี่สุดยอดความหมายทุกอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดเลย

จากคู่ที่ 4 แล้วมาคู่ที่ 5

มหัคคตะ กับอมหัคคตะ

มหะ แปลว่า ทั้งใหญ่ ทั้งเลิศ ทั้งยอด มหะ กับ อัคคะ มีลักษณะยิ่งใหญ่ทั้งเลิศยอด ทั้งสองลักษณะที่คนสรุปไปว่าจบยิ่งใหญ่ที่สุดก็มี 2 ธาตุ 2 ใหญ่ สองเรื่องของเทวะ

เราก็ดูว่า เราทำให้ยิ่งขึ้น ทั้งใหญ่ทั้งเลิศ มันเจริญยิ่งขึ้นกว่าเก่าหรือมันยังไม่ อมหัคคตะ มันยังทุกข์เหมือนเดิมหรือดีไม่ดีมันจะเสื่อมไป มันก็ชักไม่ดี ไม่ไปไม่เจริญไม่ก้าวหน้าก็ต้องอ่าน ว่า ไม่ได้นะ อย่างนี้ต้องให้เจริญมันผิดหรือไปติดขัดตรงไหน ก็ต้องตรวจสอบ มันขาดตกบกพร่องไม่พาให้เจริญได้อย่างไร จนกระทั่งทำได้หลุดพ้น หลุดพ้นขยะนี้เป็น มหัคคตะไปได้ เจริญก้าวหน้าสู่ความมากขึ้นสู่ความยิ่งขึ้นๆ ไปเรื่อย

จนกระทั่ง ไปอีกคู่หนึ่ง ดีเรื่อยๆ ดีได้เรื่อยๆ แต่ก็มีปฏิภาณรู้ว่ามันยังไม่จบ มันยังไม่ถึงดีที่สุด จนหมดจนจบจนครบ ไม่มีอะไรเหนือกว่านี้อีกแล้ว อนุตตรังจิตตัง กับสอุตตรังจิตตัง(ดี แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก)

ดีแล้วแต่มันยังไม่จบ คุณจะมีปฏิภาณรู้ จนกระทั่งรู้ว่ามันจบ ที่รู้จบก็เพราะว่ารู้ 2 นัย เทวะ นัยหนึ่งคือเจโต นัยหนึ่งคือปัญญา เจโต ตรวจจิตจบสมบูรณ์ ภาษาอันหนึ่งเรียกอธิจิต อันหนึ่งเรียกสมาธิ

จิตที่เจริญ อธิจิต หรือสมาธิ แล้วก็อธิปัญญา วิมุติ ก็คือปัญญา จิตคืออธิจิตคือจิตเจริญ

เจริญไปอย่างสะอาด แข็งแรง ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อเนญชา อาตมาก็นำพยัญชนะมาให้ เป็นเครื่องตรวจสอบคือ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)

ลักษณะจบ ลักษณะจิตสมบูรณ์ จิตสะอาดที่ไม่มีกิเลส ทั้งความรู้สึก ทั้งลักษณะของจิตเอง มันไม่มีกิเลส คุณก็รู้ทุกนัย ทุกอย่างจนรู้จักรู้แจ้ง  รู้จริง  จุดสำคัญนัยยะสำคัญของมันทั้งนั้น

จนกระทั่งตรวจสอบหมดเป็น 2 นัย ลักษณะของ Static กับ Dynamic เรียกเป็นภาษาสากลเลยทั้งพลังงานอุตุ พีช จิต ก็ใช้ตัวอธิบายหรือตัวชี้วัดว่า เป็นตัวตั้งกับตัวเคลื่อน

ตัวตั้งเรียกว่าสมาธิ มันก็เต็ม แน่ เป็น นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)

ปัญญาก็ตัวรู้ ตัววิมุติหลุดพ้น มุติ แปลว่ารู้ อธิมุติหรือวิมุติคือ รู้อย่างสุดยอดจบ ก็คือเจโตกับปัญญา สมาธิกับวิมุติ ก็ตรวจสอบ

ปัญญาก็รู้รอบรู้จบรู้ไม่เหลือ สัญญาเวทยิตตัง นิโรธัง โหติ ใช้สัญญาเป็นเจตสิกสำคัญทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ สัญญาเป็นเจตสิกที่ทำงานหนัก เป็นความจำเป็นคลังก็เรียกว่าสัญญา ตัวเองเป็นตัวทำการรู้ก่อนใครเลยนะสัญญานี้ หลังใครเลยนะ ฝังไว้ในเซฟ ในเก๊ะ  เป็นคลังความจำ

เพราะฉะนั้นตัวสัญญาคู่สุดท้ายเลย ส กับ อัญญา นี่  อัญญา เป็นธาตรู้โลกุตระ กับทุกอย่างเลย สก สว สย สามารถรู้ครบจบหมด ก็เป็นการสมบูรณ์ที่สุด

นี่คือ มาตรวัด เจโตปริยญาณ 16

ส่วน ธรรมในธรรมนั้น คู่ใหญ่ก็คือโลกียะกับโลกุตระ

คู่ เล็กลงไปก็คือดีชั่ว ซึ่งเป็นโลกีย์

ถ้าวิเคราะห์โลกุตรธรรม ตรงนี้คือสุขกับทุกข์ และสุขกับทุกข์มันรู้ได้แค่ 2 แต่โลกีย์ที่แย่ที่สุดก็เลย แม้แต่ 2 ก็แยกไม่ออก เรียกว่าหัวหน้าใหญ่ ตัวเองแยกของตัวเองไม่ออกความเป็นเทวะของตัวเอง อัตตาของตัวเองเป็นเทวะก็แยกไม่ออก ก็เลยมาบอกลูกศิษย์ทั้งหมดเลยว่าอย่าแยกนะ ลูกศิษย์ก็เลยพลอยจบ สามารถรู้ได้เท่าที่อาจารย์หรือตัวพระเจ้าตัวผู้เป็นหัวหน้าใหญ่ที่ได้มีความรู้และเข้ามาประกาศขยายไว้ ตัวเองก็รู้เท่านั้น มาขยายให้คนอื่นรู้ รู้เท่านั้น ที่ไม่รู้คือไม่รู้ตัวเอง ไอ้ที่รู้นั้นคือรู้เท่าที่รู้นั่นแหละ

ก็เช่น เทวะกับอเทวะ ก็รู้แต่เทวะของตัว แต่อเทวะไม่รู้ รู้โลกีย์แต่ไม่รู้โลกุตระ ก็วนอยู่รู้กับไม่รู้ มีความรู้กับไม่รู้เป็นธรรมะ 2

ไม่รู้ที่เป็นเทวนิยมคือไม่รู้เท่ากับพระเจ้า คือหัวหน้าใหญ่ รู้ของอเทวนิยม คือรู้ของโลกีย์ทั้งหมด คือดีกับชั่ว แล้วดีกับชั่ว โลกียะไม่เที่ยง วนอยู่อย่างนั้นเป็นสมบัติผลัดกันชมหลงไปแล้วก็แพ้วิบาก ยังอยากได้ดีที่สุดยั่งยืนที่สุด  แต่มันยั่งยืนเที่ยงแท้ไม่ได้ เพราะมันไม่เป็นโลกุตระ มันยั่งยืนไม่ได้ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันอนัตตา เพราะไม่จบที่อนัตตา

ไม่จบที่อนัตตา เพราะตีตัวอัตตาไม่แตก ก็ไม่มีอนัตตา เพราะฉะนั้นก็เลยไม่มีความรู้ ถ้าความรู้โลกียะมีแค่ 3 คือ 1 2 3 ก็วนเวียนอยู่แค่นี้ความรู้ตัวที่ 4 ไม่มี มิติที่สำคัญที่สุดคือมิติตัวที่ 4 ไม่มี ไม่ออกจากกรอบโลกียะอยู่ใน 3

เพราะฉะนั้นผู้ที่เหนือกว่าโลกียะ 3 ออกไปที่ 4 จึงชื่อว่าโลกุตระนี่ยิ่งใหญ่ที่สุด แล้วโลกุตระ เป็น 4 ไปแล้วก็จะไปเป็น 5 เป็น 6 ก็ขยายไปอีกรู้แล้วก็จะไปตีกรอบอยู่ทำไมขยายไม่ได้ ขยายเป็น 6 เป็น 9 เต็มครบก็รู้ว่า มีขยายอีกให้ละเอียดก็ขยายไปอย่างได้สัดส่วนอันน่าอัศจรรย์ นี่คือรายละเอียดสูงสุดที่อาตมาขยายคร่าวๆให้ฟัง

 

ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร วิญญาณ

ทีนี้เข้าสู่ ปฏิจจสมุปบาท

ย้ำอีก ซ้ำซากอีก เริ่มต้นที่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ​ สามเส้าแรก

เพราะอวิชชาจึงไม่รู้จักสังขาร สังขารมันก็มีวิญญาณเป็นปัจจัย เขารู้เขาขานชื่อพยัญชนะว่าวิญญาณ แต่เขารู้แต่วิญญาณ แต่เขาตีวิญญาณไม่แตก เพราะว่ามันเป็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมะ 2 ก็คือ เขาแยกวิญญาณไม่เป็น แยกสองไม่เป็น แล้วห้ามแยกด้วย เพราะว่าพระเจ้าผู้เป็นเจ้าของ 2 นี้ไม่เรียน 2 เรียนแต่ความเป็น 1 ให้แน่นที่สุด จบที่สุด รู้ที่สุดแล้ว ก็เอามาอธิบาย แตกเท่าที่รู้ ตัวเองมีเท่าไหร่ก็เอามาสาธยาย

เพราะฉะนั้นศาสดาของเทวะนิยมจึงมีความรู้ เทวะ แต่ศาสดาแต่ละองค์ของศาสนาแต่ละศาสนา จึงไม่ใช่หนึ่งเดียว สัจจะเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสัจจะที่ แยกนิกายอกไปเยอะเลย ก็ยิ่งยาก เพราะมันมากเข้าๆ ก็ตามรู้ไม่ไหวไม่หมด เป็นโลกจินตา

โลกจินตาคือ มันคิดแยกออกไปเท่าไหร่ก็ได้เพราะเป็นความคิด สร้างความรู้ความหมายขึ้นมา เป็นนิรมาณกายใส่เข้าไป กระจายไปอีกเท่าไหร่ก็ได้ จึงเรียกว่า หาที่สุดมิได้ แค่พูดก็เหนื่อยแล้ว ไม่ต้องไปตามรู้รายละเอียดที่จะหาที่สุดมิได้ พระเจ้าจึงรู้มากต่อให้รู้มากจริงๆเป็นศาสนาที่รู้มาก แต่ไม่มีที่จบ เพราะไม่รู้ที่จบคืออัตตา ตัวเอง ไม่รู้

ก็เลยกลายเป็นผู้ไม่ได้รู้จริง ไม่ได้รู้จริงอะไร ที่คุณรู้มากคือไม่รู้จริง ถ้าคุณรู้มากและรู้จริง คุณก็จบ คุณรู้มากนั้นจริงคุณจะมีรู้กระจ่างแล้วคุณจะรู้กระจก เพราะคุณรู้กระจ่างคุณก็เลยรู้อย่างกระจกเลย กระจกที่ใสที่สุด อาตมาใช้พยัญชนะมาสื่อภาษา เข้าใจไหม ใช้ได้ใช่ไหม

โลกจินตา จะบัญญัติอะไรขึ้นอีกมากมายเป็นความรู้ที่หาที่สุดไม่ได้ เสร็จเลยคนนี้ คุณก็รู้ที่จบไม่ได้ 0 เท่ากลับล้านหรือว่า Infinity ไม่จบเลย ไม่มีทางหยุดแล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร คุณจะเปรียบเทียบได้อย่างไร ฉะนั้นจะสรุปไม่มีที่จบกับความจบ มันทำไม่ได้เพราะไม่มีจุดเปรียบเทียบ คุณรู้ไม่มีที่จบกับคุณรู้จบ คุณก็อย่าไปตามมันสิ ไม่มีที่จบคุณก็เอาที่จบให้ได้ เมื่อคุณรู้ว่ามันไม่มีที่จบ ตามมันไม่ได้ ก็ตัดสิมันก็มีที่จบ ง่ายจะตาย เอ้าจริงนะ อาตมาพูดความจริงเลย ปฏิภาณของอาตมาบอกได้เลย สรุปแล้วเอาตามคำสอนพระพุทธเจ้านี่แหละท่านสอนไว้

อาตมานำคำสอนของพระพุทธเจ้าเอามาใช้เท่าที่ความรู้ของอาตมามี มันก็ครบเป็นสัดส่วนไปได้เรื่อยๆ จนเกินตัวจบ ฉะนั้นจบอย่างอรหันต์ได้แล้ว จบอย่างโพธิสัตว์ระดับ 5 ระดับ 6 ระดับ 7 ระดับ 8 แม้อาตมาแต่ยังไม่ถึงระดับ 8 ก็ตาม มันก็นัยยะเดียวกัน เรารู้แล้ว ตั้งแต่ 4 5 6 7 มันก็เป็น 8 ก็นัยยะเดียวกัน 9 ก็นัยยะเดียวกันอีก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงรู้จบและรู้ไม่มีที่สุดได้ดีที่สุด ท่านจึงมีที่จบแล้วเป็นอมตะ แล้วก็ตัดสินใจเองเลย จะตายหรือไม่ตายก็ได้ อมตะ เขาแปลอมตะแต่แค่ว่าไม่ตาย เพราะเขาแปลไปตามนัยยะของนิรันดร เขามีทิฏฐิที่เขาติดยึดตามแบบเทวนิยม มันไม่เป็นโลกุตระ เป็นโลกียะ เขาก็เลยแปลอมตะว่าไม่ตาย ก็ตรงกับนิรันดรสูงสุด ความจริงไม่ใช่

อมตะ เป็นเทวะ ตายก็ได้ไม่ตายก็ได้ สองอันเป็นเทวะคู่สุดท้าย

ตายคืออย่างไร ความตายของวิญญาณ ความตายของจิตคืออย่างไร พระพุทธเจ้าก็รู้ความจริงของจิต พลังงานของจิตก็คือสังขารปรุงแต่งกันอยู่ แยกมันออกได้ เพราะฉะนั้นต่อจากอวิชชา  สังขาร วิญญาณ คุณอวิชชาก็เลยไม่รู้สังขาร ก็เลยไม่รู้วิญญาณที่เป็นการปรุงแต่งของธาตุ ของเหตุปัจจัย ไม่รู้เพราะไม่ให้แยก

พอมาปลดอวิชชาก็รู้ สังขารต้องแยกเป็น 2 เพราะฉะนั้นวิญญาณต้องแยกเป็น 2 คุณก็ใช้ 2 เป็นตัวเรียนรู้ ก็เลยได้เกิดเป็นตัว 2 คือ นาม รูป

เริ่มมีวิชชาก็เป็นสังขาร วิญญาณ นามรูป สามเส้า เลื่อนชั้นออกมา  ก็ใช้นามรูปมาเรียน ใช้เทวะมาเรียน อย่าไปใช้คำว่า 1 มาเรียน ที่อาตมาเรียกว่าหัวใจของศาสนาอยู่ที่พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ )  ล.10 ข.60 ให้จับตัวเวทนาที่เป็นที่ตั้ง เป็นกรรมฐานของศาสนา หัวใจของศาสนา เวทนาเป็นหัวใจของศาสนา ไม่มีเวทนาก็ปิดประตูเลย

นั่งหลับตาปฏิบัติเป็นวิญญาณสัมภเวสี ไม่มีที่ตั้งของวิญญาณ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ซึ่งต้องเรียนรู้นามรูป 28 ท่านก็สอนแล้ว โคจรรูป วิสยรูป 5 คู่ แต่มันมีธาตุรู้ที่ซ้ำกันก็นับเหลือ 9 คือ กายเป็นตัวกลาง เพราะกายคือจิต จิตคือกาย โผฏฐัพพะ เป็นคู่ แล้ว 4 นี่ต้องมีตัว1 ตัวจิตนี้ร่วมไปหมด ธาตุรู้ 4 คู่ต้องมีใจร่วมไปด้วย ทั้งหมดก็เลยเป็น 9

 

จาก ปฏิจจสมุปบาทเป็นนามรูปแล้ว ก็ขยับไปเรียนวิญญาณ นามรูป อายตนะ เลื่อนไปเรื่อยๆ อย่าไปติดแต่บัญญัติภาษาเอาไปอ่านสภาวะให้เก่ง

 

ปฏิจจสมุปบาท วิญญาณ นามรูป อายตนะ

วิญญาณ นามรูป อายตนะ

ฉะนั้นวิญญาณ มันมีที่ตั้งอยู่ 5 นามรูปก็ต้องรู้ 5 คู่ ก็คืออย่าไปนับเป็น 10 ให้นับเป็น 9 มันก็จะเกิดวิญญาณ นามรูป อายตนะ การเกิดอายตนะ

อายตนะ โดยพยัญชนะของมัน อายะ แปลว่า ประโยชน์ แปลว่า สิ่งที่ได้รับ ถ้าจะว่าไปแล้ว อายะนี่คือตัวนาม ตัว Dynamic ตนะ คือตัวตั้งตัว Static ตนะ ก็คือ ตน

อายะ คือประโยชน์ สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่เป็นกำไร สิ่งที่ได้ ตัวคุณจะได้อะไร ก็อันนั้นแหละเป็นธาตุ 2 เทวะ ระหว่าง อายะ กับ ตนะ

จากการมีความรู้ระหว่างวิญญาณนามรูปทำงาน 2 ตัว เป็นนามกับรูปทำงาน มีวิญญาณและวิญญาณมีที่ตั้งกระทบสัมผัสก็ต้องตรวจสภาพ 2 ให้คุณรู้

อายะ กับ ตนะ ก็คือ สิ่งที่คุณรู้ จะรู้ได้ใน 5 ทวารนอกเป็นคู่ 5 คู่ หมดจาก 5 คู่นอกก็ยังมีคู่ในนอีกคู่หนึ่งเป็นคู่ที่ 6

ข้างนอก 5 คุณยังเรียนไม่จบอย่าไปยุ่งกับคู่ที่ 6 มนายตนะกับธัมมายตนะ คุณอย่าเพิ่งไปยุ่ง ยุ่งแต่โผฏฐัพพายตนะ ไม่เรียกกายายตนะ เดี๋ยวจะไปซ้ำ แต่อย่าเพิ่งไปวุ่นกับ มนายตนะกับธัมมายตนะ

(พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)

สมณะฟ้าไท...พ่อครูให้เราเรียนรู้อายตนะภายนอกก่อน 5 คู่ เช่น ตากระทบมะม่วงเขียวใหญ่ 5 ผลนี่
          พ่อครูว่า…ลูกโตที่เขาเขียนมา 1 กิโลกรัมกับ 4 ขีด

ถ้าเป็นที่อื่นแย่งกันหมดแล้ว แต่พวกเราดีมีมารยาท ไม่ค่อยจะแย่งกันเท่าไหร่ แต่ใครอยากกินก็ค่อยๆหาวิธีเอา เดี๋ยวก็ได้กิน คนที่อยากแต่ก็ยับยั้ง อย่าไปอยากเลย เพราะความอยากเป็นกิเลสก็เลยระงับไว้ก็เลยเหลือ เพราะว่าคนมีปัญญาระงับกิเลสก่อนว่าอยากเลย คนที่ระงับไม่อยู่ไปดูเดี๋ยวก็ได้กิน (มะม่วงตอนนี้เขียนไว้ว่า ระวังความอยาก)

สมณะฟ้าไท...มะม่วงนี้คล้ายกับแอปเปิ้ลส่งมาจากกรุงเทพฯ

พ่อครูว่า…ถ้านิยมจีนก็บอกว่าเหมือนลูกท้อ ถ้าไปนิยมฝรั่งก็เหมือนแอปเปิ้ล

สมณะฟ้าไท...สัญญามีอุปาทานไหมว่าเหมือน Apple

พ่อครูว่า…อายตนะ จึงกลายเป็น 2 ตัวของวิญญาณคือนามรูปนั้นเอง มันรวมสภาพสภาวะธรรม นามรูป รูปนามหรือสังขาร หรือตัววิญญาณนั่นแหละ มันไม่ได้หนีจากกันเท่าไหร่มันเกี่ยวพันกันแต่มันละเอียดขึ้น อายตนะ เราแปลว่ามันเหมือนสะพานของนามรูป ของสิ่งที่ผัสสะระหว่างสิ่ง 2 สิ่งภายนอกภายใน อย่าเพิ่งไปนึกถึงหมดภายนอกจบหมดเสร็จค่อยเหลือมนายตนะกับธัมมายตนะ อย่าไปลัดไปถึงสิ่งที่ละเอียดที่ยังไม่ถึงขั้น

เมื่อเราเข้าใจอายตนะก็คือ 2 ทีนี้อายตนะ มันจะเกิดได้มันต้องมีผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะอายตนะไม่เกิด อายตนะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เลยว่าไม่ตั้งอยู่ ณ ที่ใด มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นเหมือนกันกับคำว่าบุญ บุญมีในปัจจุบันเท่านั้นเป็นปัจจุบันชาติ เกิดอยู่ที่ปัจจุบันหมดปัจจุบันไปไม่มีบุญไม่มีอายตนะ อยู่ที่ไหนก็ไม่มี

ผัสสะ จะไปบอกว่ามีแต่ปัจจุบันก็ได้ คล้ายกัน แต่ต้องมีผัสสะ ตัวนี้เป็นตัวบังคับ ถ้าไม่มีผัสสะอายตนะไม่มี เวทนาไม่มี เป็นสามเส้า อายตนะ ผัสสะ เวทนา

เพราะฉะนั้นคุณต้องมี 2 เสมอ อายตนะ คือ อายะกับตนะคือนามกับรูป แล้วต้องมีตัวที่ 3 เพิ่มขึ้นคือผัสสะ

ทีนี้ คุณไปเอาแต่ผัสสะข้างใน มนายตนะกับธัมมายตนะ  คุณต้องรู้ดีจัดการ 2 ทำให้เป็น 1 เป็น 0 ได้ภายนอกก่อน คุณจึงไปจัดการตัวนี้มันจริงๆไม่ยากนักหรอก

มนายตนะกับธัมมายตนะ หรือ เรียกว่าธัมมารมณ์หรือเรียกว่าเวทนาของตัวธรรมะตัวสุดท้าย ความรู้สึกตัวสุดท้าย

 

ปฏิจจสมุปบาท อายตนะ ผัสสะ เวทนา

ขยับมาสามเส้าที่อายตนะ ผัสสะ เวทนา

เวทนา จึงเป็นตัวตั้งที่เป็นฐานที่จะเรียน จึงเรียกว่าวิญญาณฐิติ วิญญาณเรียนที่ตัวเวทนาคือฐีติ ของวิญญาณ เวทนา เป็นที่ตั้งของวิญญาณ ถ้าคุณไม่มีที่ตั้งทางตาหูจมูกลิ้นกายคุณก็เป็นวิญญาณสัมภเวสี คุณจะมีวิญญาณ คุณต้องมีที่ตั้งกระทบสัมผัส มีผัสสะแล้วก็เกิดอายตนะคู่นามรูป แล้วเรียนรู้ได้ เรียนทีละคู่ ของตา ของหู ของจมูก ของลิ้น ของกาย บอกแล้วนะว่าใจเอาไว้ก่อน ให้จบกาย 5 นี้ก่อนเถอะ เหลือใจคู่สุดท้าย มนายตนะกับธัมมายตนะ เอาไว้ทีหลัง ไปเรียนลัดไม่ได้เรื่องเลย

ผู้เรียนลัดเอาที่มนายตนะกับธัมมายตนะ พวกนี้ทิ้งเลย สุญโญ ไม่มีสิทธิ์ที่จะรู้ หยาบก็ไม่รู้ รายละเอียดของความหยาบก็ไม่รู้ แล้วคุณจะไปเอารายละเอียดของความละเอียดทันที อาตมาเคยเปรียบเทียบว่าคุณจะเอามีดโกนยิลเลตต์ใบมีดโกนเล็กบาง ไปซัดกันกับทวน 80 ชั่งของกวนอู คุณจะยื่นยิลเล็ตต์เล็กๆโดนง้าว 80 ชั่งของกวนอูฟันคอขาด แล้วเข้ามาใกล้ไม่ได้แทงขาดไปหมดแล้ว เพราะหยาบมันจะมีรอบตัวเลย ทุกอย่างรายละเอียดต่างๆ ละเอียดมันก็ยิ่งมีน้อยเข้าๆๆ แล้วคุณจะเอาความน้อยไปสู้ความหยาบ มันเป็นไปไม่ได้เลย ฟังให้ดีนะท่านผู้หลับตาปฏิบัติทั้งหลาย โมฆะบุรุษทั้งหลายเอ๋ย อาตมาขอเรียกอย่างนั้นเลย โมฆะบุรุษหลับตาปฏิบัติเป็นโมฆะ

ถ้าปฏิบัติดีๆจริงๆเลยไม่ต้องหลับตาเลย เตวิชโชก็ใช้แบบลืมตาได้ ขณะที่คุณนั่งฟังอาตมา คุณก็มีปฏิภาณ มุทุธาตุ เตวิชโช  ก็มีอยู่แล้ว คุณนั่งฟังอาตมา เตวิชโช มุทุธาตุ ของคุณก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา มีผู้ที่บรรลุธรรมขณะฟังธรรมได้ เป็นพระอรหันต์ได้ เพราะว่า มุทุธาตุของคุณเร็ว มุทุธาตุของคุณสำคัญ

เมื่อคุณไม่มีผัสสะ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พรหมชาลสูตรเลยว่า ไม่มีที่ตั้งในการปฏิบัติเมื่อไม่มีที่ตั้งในการปฏิบัติ จิตของคุณก็มีแต่ตัวแส่หาของตัณหาเท่านั้น แสบมากเลยคำนี้ พวกนั่งหลับตามีแต่ตัณหาที่แส่หาเท่านั้น แล้วจะไปแส่รู้เท่านั้น ไม่พูด tiger G ก็ดีแล้ว

 

เมื่อได้ฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติคือ เวทนา พระพุทธเจ้าก็แจกเวทนาออกเป็น 108

ฟังดีๆ เวทนา 108  เอาให้ละเอียดโดยสภาวะ

แบ่งเป็น 2 เวทนา  ได้แก่..

1. เวทนาที่มีกายเป็นเหตุ  (กายิกเวทนา อาศัยมหาภูตรูป+นาม)

2. เวทนาที่มีใจเป็นเหตุ  (เจตสิกเวทนา อาศัยนามรูป)

 

แยกเป็น 3 เวทนา ได้แก่.. 

1. สุขเวทนา

2. ทุกขเวทนา

3. อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุขไม่ทุกข์  อุเบกขา)

 

เวทนา 5 (รู้กำลังของเวทนาทั้ง 5 ได้แก่)

1. สุขินทรีย์  เป็นสุขที่ต้องนับภายนอก เกี่ยวข้องกับภายนอกเป็นสุข

2. ทุกขินทรีย์ หรือเป็นทุกข์ก็เรียกว่า

3. โสมนัสสินทรีย์ ดับพลังงานสุขทุกข์ภายนอกก็เป็นโสมนัสกับโทมนัส

4. โทมนัสสินทรีย์ หมดโสมนัสโทมนัสก็เป็นอุเบกขา

5. อุเบกขินทรีย์ มีเพียงหนึ่งเดียว ไม่เป็น 2

อุปะ + เอกข

อุปะ คือใกล้  ข คือว่าง เอกคือ 1 ตัวว่างที่เป็นอย่างนี้แหละนี่แหละคือ ตัวกิริยาเต็มของ ม คือจิต คือ ป กิริยาเต็มแต่ไม่ได้หมายความว่าจบที่ ป เพราะมี ผ พ ภ ม อีก แยก ป เป็น 2 ทำงาน ได้ผลเป็น พ ตัว พ.พาน ส่วน ภ เจริญไปกว่า 3 อีก โภ หรือ ภ แล้วก็จึงเป็น ม

ป ผ พ ภ ม จึงเป็นกระบวนการเจริญของจิต ที่ทำงานทุกอย่าง จน เป็น ม เต็ม ตั้งแต่ ป คือธาตุ 2 จนถึง ม คือธาตุ 1

ผ คือ ผัสสะ พ ตัวกลาง แล้ว ภ ตัวโต

ผ เกิดขึ้น พ ตั้งอยู่ ภ ดับไ ป  แต่ไม่ใช่ดับ เขายังจะเจริญต่อไปอีกจึงเป็น ภ.สำเภา

ภ. เอาตัว ก.ไก่มาใส่หัว ตัว ก.ไก่ เป็นตัวเริ่มของสภาวะต่างๆทุกอย่าง กลายเป็น ภ.สำเภาคือตัวนี้มาใส่หัวขึ้น คือการเกิดของความเจริญที่ตัวเกิด มันเกิดมันเจริญ มันเจริญเกิด เจริญแล้วก็รวมไว้ที่ ม

แยกพยัญชนะผสมผสานไปเรื่อยๆ ความหมายของพยัญชนะต่างๆมารวมทุกอย่าง ก็ค่อยๆขยายไปทีละหน่อย อัดทีเดียวไม่ได้ คุณมึนแน่

 

เวทนา 6 (แยกเป็น 6 เวทนา ได้แก่)

1. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทตา

2. โสตสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทหู

3. ฆานสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทจมูก

4. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทลิ้น

5. กายสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทกาย

6. มโนสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากใจปรุงแต่งเอง

เวทนาเป็นฐานที่ตั้งแล้ว มีการรู้ 6 เรียกว่า ฉฬายตนะ

ฉ หรือ ฉฬ แปลว่า 6

ฉ มันก็คือตัวรู้ ส่วน ฬ คือ ตัวมโหฬารที่สุดของเศษวรรค

ย ร ล ว ส ห ฬ ตัวรอจุฬาใหญ่มโหฬารเขื่องหรูที่สุดอลังการที่สุด บ่งบอกตัวเต็มที่สุดของ 6 คือเต็มด้วยอายตนะ

ฉฬายตนะ กร่อน มาเป็นภาษาไทยก็คือคำว่า ฉลาด

ฉลาด ในภาษาไทยมาจากคำว่า ฉฬายตนะ กร่อนไปเป็น ฉลาด

หลายคนฟังแล้วอาจจะบอกว่า อาตมาใช้ปฏิภาณเก่งมาก พูดไปเอง ไม่มีในหลักวิชาที่เขาเรียนเลย เขาเรียนไวยากรณ์ วจีวิพากษ์ วากายะสัมพันธ์ อาตมาไม่ได้เรียนด้วย แต่อาตมาก็เอาสภาวะมาพูด ไปตามพยัญชนะของอาตมาเท่าที่รู้ บางทีก็เอามาเรียกผิดบ้าง ถูกบ้างเขาก็ท้วงมา ก็ยอมรับไม่มีปัญหา เอาให้ถูกอย่างที่เขายึดถือกันก็ได้ อาตมายังไม่เก่งก็ผิดบ้างไม่เป็นไร ให้มันถูกตรงกันแล้วก็จบ อาตมาไม่ได้ดื้อดึงดัน

พอมาเป็นเวทนาฐานนี้แหละ พอ 6 ตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ต้องมีใจ จึงเรียกว่ารวมสัมผัสแล้วต้องมี 6 ครบ เวทนา 6

ทีนี้ในเวทนา 6 นี่แหละ

ตามันก็มีสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ได้ หูมันก็มีสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ได้ จมูกมันก็มีสุขทุกข์ ไม่สุขได้ 3 x 6 เป็น 18

ได้แก่ มโนปวิจาร 18  (คือ เวทนา๓ ร่วมกับอายตนะ๖)

สุขเวทนาแบบโสมนัสสูปวิจาร  (6ทวาร+โสมนัส) 

ทุกขเวทนาแบบโทมนัสสูปวิจาร  (6ทวาร+โทมนัส) 

เฉยๆ ที่เป็นอุเบกขูปวิจาร   (6ทวาร+อุเบกขา)

ความรู้สึกทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สามอย่างใหญ่ๆ ก็เป็น 18 เรียกว่ามโนวิจารณ์ 18 พฤติกรรมของเจ้าจิต ป วิจาร รวมเต็มพฤติกรรมทั้งหลายของมโนมาอยู่ที่นี่

คนไม่รู้จักมโนปวิจาร 18 ไม่รู้กระบวนการ 18 อย่างนี้ ผู้นี้ไม่มีสิทธิ์เป็นอรหันต์ อาตมาพูดย้ำไม่รู้กี่ทีแล้ว เรียนรู้มาเวทนาในเวทนาไม่เคยรู้เรื่อง เพราะกายในกายเขาก็มิจฉาทิฏฐิแล้ว เพราะฉะนั้นเวทนาในเวทนาก็ผิด เพราะว่ากลัดกระดุมเม็ดแรกก็ผิดแล้ว ต่อไปไม่ต้องพูดเลย ศาสนาพุทธทุกวันนี้เป็นอย่างนั้น  จิตในจิตยิ่งไปกันใหญ่เลย ธรรมในธรรมที่เป็นโลกุตระก็ยิ่งไม่มี

อาตมาพูดธรรมะ ไม่ได้ไปกดขี่ดูถูกดูแคลนยกตนข่มท่าน ไม่ใช่ แต่โวหารลีลาการพูดของอาตมาเป็นเช่นนี้ มันไม่ค่อยนิ่มนวล ไม่ค่อยไพเราะ ไม่ค่อยจะชี้ชวนอะไร มีแต่ผ่า จึงได้รับฉายาว่า ขวานจักตอก มันสับโป๊กๆๆ เลย แต่มันเป็นจักตอกได้อย่างไรไม่รู้

เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถรู้ มโนปวิจาร 18 แล้วแยกได้ว่าอันนี้เป็นโลกียะ 18 กระบวนการทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ กับ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ คุณชัดเจนเลยทางตาก็เรียนรู้สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ที่เป็นแบบโลกีย์ หรือเป็นแบบเนกขัมมสิตเวทนา

เริ่มลดกามเรียกว่า เนกขัมมะตัวที่ 1 เริ่มลดกิเลส ตั้งแต่สัมผัสกามภพ ตาหูจมูกลิ้นกายกิเลสมันเกิด ตั้งแต่ตัวหยาบเป็นอบายมุขอยู่ในกามภพ คุณก็เรียนรู้จนจับกิเลสได้

จนกระทั่งเห็นให้จริงเลยว่า พระพุทธเจ้าบอกว่าเรารู้หน้าตาแกแล้ว เราหักเรือนยอดของแกแล้ว แกจะมาก่อรูปร่างสร้างเรือนอยู่ในเราอีกไม่ได้ มาร

คนที่เป็นมารฟังรู้เรื่องคือเทวปุตตมาร แต่มารแท้ๆเลย อเวจีมาร มารนรก มารอวิชชา ก็จะฟังไม่รู้เรื่องหรอก แต่คนที่มีปฏิภาณปัญญาก็จะฟังรู้เรื่อง ที่ยกอุทาหรณ์ว่า เราหักเรือนยอดของเธอหมดแล้วมาร เธอไม่มีสิทธิ์สร้างเรือนในใจเราแล้ว (เคหะคือเรือน) อธิบายเชิงรูปธรรมคือไม่เกิดเรือนขั้นอีกแล้ว เคหะเขาก็แปลว่า คือ ผู้อยู่เรือน ผู้ครองเรือน

เมื่อล้างกิเลสกาม กิเลสพยาบาทคู่กัน ได้ จะเอาตัวไหนก่อนก็แล้วแต่ถนัด คนถนัดเอาพยาบาทเอาโทสะก่อนแล้วเอาราคะ ก็ตามใจ ของแต่ละคน แต่ละถนัด ได้ก่อน เนกขัมมสิตเวทนา เป็นตัวต้นของ มโนปวิจาร 18 ฝ่ายเนกขัมมะ ก็เหมือนกันนั่นแหละ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์

มีนามรูป กายิก กับเจตสิกะ 3 สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ 5 ก็คือรายละเอียดของความควบแน่น นอกในแล้วเป็นอุเบกขา จนมาถึง มโนปวิจาร แยกเป็น เคหสิตะกับเนกขัมมะสิตะ อย่างละ 18 รวมเป็น 36 คุณต้องรู้ตัวนี้โลกียะกับโลกุตตระ ถ้าคุณแยกสภาวะเหล่านี้ไม่ออกอ่านไม่ออกเรียนไม่เป็น ทำให้หมดไป ทำให้โลกียะหมดเหลือแต่โลกุตตระชนะเต็ม คุณทำไม่ได้ มันก็ทำให้เป็นอรหันต์ไม่ได้

เวทนา มโนปวิจาร คุณต้องดูสภาวะที่ละเอียดทั้ง 18 และ 18 นี้ให้ได้ เหลือสุดท้าย 18 กับ 18 รวมเป็น 36 เป็นคู่เป็นเทวะ(คู่ 18 โลกีย์กับคู่ 18 โลกียะ) คุณก็ปฏิบัติทุกปัจจุบัน ตาม กาละ 3

อดีต ปัจจุบัน อนาคต คุณจะต้องรู้ส่วนอดีต ส่วนอนาคต และส่วนปัจจุบัน หรือทำในปัจจุบันสำเร็จลงในปัจจุบัน จนจบ แต่ถ้าคุณไม่รู้ส่วนอดีต ส่วนอนาคต จบปัจจุบันแล้ว เลิกปัจจุบันแล้วไม่มีอะไรนะ โดยสัจธรรม ปัจจุบันเรียกว่า ทิฏฐธรรม ปัจจุบันชาติ

ชาติเกิด ชาติตัวสุดท้าย อภินพพัตติ เกิดชาติแล้วรู้แจ้งจบ ใน 36 ปัจจุบันก็หายไปหมดเลย ปัจจุบันก็หายไป อดีต อนาคต ก็คือ สองฟาก สิ่งที่ยังมาไม่ถึง กับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว คุณทำให้ผ่านปัจจุบัน ทำให้เป็น 36 นี่แหละกระบวนการของเคหสิตะกับเนกขัมมะ ทำให้สมบูรณ์แบบ ทั้งความสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ของ กาม ตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วค่อยมาทำใจทีหลัง

คุณทำได้หมดครบจนกระทั่งถึงใจ หมดจบ ในทุกปัจจุบันๆ เพราะการปฏิบัติธรรมทำในปัจจุบันชาติ จึงจะเป็นสัจจะความจริง ความจริงจริงๆที่สุดไม่มีที่ตั้งไม่ได้ ไม่มีการเกี่ยวข้องอยู่กับตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ได้ แม้แต่มนายตนะกับธัมมายต ตัวสุดท้าย ก็ไม่ใช่ว่า มนะ นั้นอยู่ข้างใน ธัมมะนี้อยู่ข้างในโดยไม่มีข้างนอก ไม่ใช่ ต้องมีข้างนอกอยู่ด้วย

คุณจะล้างกิเลสตัวสุดท้าย มนายตนะกับธัมมายตนะ เหลือธรรมารมณ์ตัวสุดท้าย คุณก็ลืมตา มีตาหูจมูกลิ้นกายใจสัมผัสทุกอย่าง แต่คุณเหลือตัว อรูป

อรูป ตัวสุดท้ายคือ มนะ กับ ธัมมะ ใจที่มันทรงสภาพอยู่ ที่เป็นกิเลส อรูป คู่สุดท้าย แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหลับตาปฏิบัติ แต่อยู่เหนือมันหมด ตาหูจมูกลิ้นกาย เหลือแต่ใจคู่สุดท้ายของใจ แต่ไม่ใช่ทิ้งกาย ไม่ได้ทิ้ง กายก็มีคู่สัมผัสทุกอย่างเต็มครบ เป็นวิญญาณฐีติไม่ใช่สัมภเวสี ไม่ใช่วิญญญาณจร

คุณจะไปตรวจสอบทบทวนวิญญาณจรตอนหลับตาก็ได้ เป็นสัญญาทบทวน เป็นการช่วย อนุเคราะห์อุปการะมาก ซึ่งคนใช้เป็นแล้ว จะไม่ติดใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างเช่นอาตมา เตวิชโช เป็นเรื่องอุปการะมาก แม้แต่ลืมตาอยู่ก็มีเตวิชโช เดี๋ยวนี้คุณก็มีได้ ไม่มีปัญหา ลืมตาก็เป็นเตวิชโชได้ หลับตาก็เป็นเตวิชโชได้ หลับตามันก็ดีขึ้นสิเพราะไม่ต้องห่วงข้างนอกเลย คิดรวมลงไปอ่านแต่ข้างใจจริงๆ มันก็ดีไม่เห็นเป็นปัญหาอะไร

เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นอรหันต์ด้วยกัน อาตมาพูดนี้ก็เข้าใจเลย ไม่แย้งเพราะสัจจะเป็นหนึ่งเดียว ตรงกันหมด

เมื่อทำปัจจุบันได้ สั่งสมลงเป็นอดีตก็แข็งแรงเต็มรูป 36 ปัจจุบันเต็มรูปแบบ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) อดีตก็ใส่คลังใส่เก๊ะ ไม่มีอะไรหักล้าง เป็นอย่างนี้ อนาคตไม่รู้มันจะมานี้ทำปัจจุบันได้สำเร็จไหม อนาคตมาถึงก็เป็นปัจจุบัน ปัจจุบันก็จัดการ อภิสังขาร จัดการได้ ทำได้ เพราะมีปัญญา นิรันดรกุลเลย ทำได้

ได้อีกก็ส่งเป็นอดีต จนกระทั่งอนาคตเมื่อเดินทางมาถึงปัจจุบันเมื่อไหร่ เสร็จปัจจุบัน มีอัตโนมัติ มีความเร็ว ความเก่ง ความครบสมบูรณ์ ไม่ต้องทำอะไรเลย อัตโนมัติจัดการเอง สมบูรณ์แบบ กิเลส จนกระทั่งตั้งแต่อนาคตมันไม่กล้าเข้าไปรวมกับอนาคตมาหาเรา อนาคตจะมาถึงเรา มันมาสะอาดแล้ว เพราะกิเลสมันรู้อนาคตนี้เป็นเรา เพราะอดีตก็เป็นเรา ปัจจุบันก็เป็นเรา อนาคตมันรู้แล้วว่าเป็นของผู้นี้นะ อย่าเข้าใกล้นะเอ็งตาย อย่าเข้าใกล้แม้อนาคต มันไม่มาแล้ว นี่พูดเป็นภาษาคนๆ ภาษาไทยไทย เอาสภาวะมาคลี่กระจายอย่างสุภาพ ให้คุณฟัง รู้จักสุภาพ คลี่ขจาย ไหม นามปากกา ฉัตรเชิงดอย ทุกวันนี้ก็ยังออกอากาศอยู่

 

มาถึงขั้น กาละ 3 อดีต ปัจจุบัน อนาคต คุณก็ทำได้สำเร็จเสร็จสรรพเป็น 0 หมด ทำกิเลสให้เป็นอุเบกขาได้ 0 หมดอย่างเชี่ยวชาญชำนาญสุดยอด ก็จบเลย

เพราะฉะนั้นในอวิชชา 8 มี

1. ไม่รู้..ทุกข์  (ทุกฺเข อญฺญาณํ)

2. ไม่รู้..ทุกขสมุทัย  (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ)

3. ไม่รู้..ทุกขนิโรธ  (ทุกฺขนิโรเธ  อญฺญาณํ) 

4. ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)  

5. ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง)   ปุพพันเต อัญญาณัง

6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง)  อปรันเต อัญญาณัง

7. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต  (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต  อัญญาณัง) .

8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์  ตามหลักปฏิจจสมุปบาท  (หรืออิทัปปัจจยตา)

(พตปฎ. ล.34  ข.691  ว่าด้วย อกุศลเหตุของโมหะ)

 

มีคนให้อธิบายข้อที่ 7 ต้องแยกไปทำไม อาตมาเคยอธิบายขยายความไว้แล้ว ส่วนอดีตก็ยังไม่เที่ยง ส่วนอนาคตก็ยังไม่เที่ยง แต่ถ้าคุณสามารถสำเร็จเป็นเวทนา 108 ทั้งส่วนอดีต และส่วนอนาคตเที่ยง มันอยู่ด้วยกันเลยอดีตกับอนาคตหรือรวมลงที่ปัจจุบัน มันทำ 0 ได้  ฉะนั้นอดีตก็ศูนย์  0 ปัจจุบันก็ 0 อนาคตมันจะมาถึงปัจจุบันเมื่อไหร่ไม่ต้องทำเลยบอกแล้วว่ากิเลสไม่มาด้วยหรอก มันปล่อยให้อนาคตตัว 0 มาได้สะดวกเลย เพราะว่ากิเลสมันกลัวรังสีรังสีกัมมันตภาพรังสี ของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นในส่วนที่เป็นอดีตส่วนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยงอย่างไร

ส่วนที่เป็นอดีต สมมุติว่าปัจจุบันอยู่ตรงนี้ กาละเดินทางมาถึงปัจจุบัน แม้ตัวอนาคต มันเดินทางมาถึงปัจจุบัน ถ้ามันยังไม่เที่ยง มันยังไม่เป็น 0 มันมาที่นี่ก็จัดการให้เป็น 0 คุณจัดการได้ก็เกิดอดีตเป็น 0 แต่ถ้าคุณจัดการไม่ได้มันก็ไม่เป็น 0 เพราะฉะนั้นอดีตก็ไม่เที่ยงได้

หรืออนาคต บางที เอ็งมาไม่ 0 บางทีมี 1 แฝงมาด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องเอาปัจจุบันเป็นหลักอย่าไปเอาอนาคตและอดีตเป็นหลัก ต้องเอาปัจจุบันให้ 0

อาตมาถึงบอกว่าความจริงที่จริงคือปัจจุบันที่เล็กที่สุด ไวที่สุด นิดที่สุด หายไปเลยปัจจุบัน ตัวความจริงในปัจจุบันมันจึงยากที่คนจะรู้จักปัจจุบัน แล้วยากที่จะทำความสำเร็จลงที่ปัจจุบัน ทั้ง 3 กาละนี้ ได้สมบูรณ์แบบ ผู้ทำได้จึงเป็นสุดยอดแห่งมนุษย์

เห็นไหมว่าอรหันต์นี้สุดยอดอย่างไรขนาดไหน แต่เอาเถอะอรหันต์ยังไม่เก่งอย่างที่อาตมาพูด อาตมาไม่ได้บอกว่าเก่งเหมือนอาตมานะ แต่ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า ถ้าอาตมาไม่มีความจริงอันนี้ จะเอาอะไรมาพูด เพราะว่าคำอธิบายนี้ไม่ได้มีอยู่ในตำราไหน

ฉะนั้นมันจึงเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเลยในกระบวนการของทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้กิเลสหมดแล้วก็จบ แล้วไอ้กิเลสหมด จึงเห็นอนัตตา 0 ได้จริงๆ มันก็เกิดจากกระบวนการของการปรุงแต่งของเหตุและปัจจัย ของสังขาร ของทีละคู่ๆ จากสังขารทั้งนั้น อธิบายจาก 2 เป็น 3 อธิบาย 2 แล้วอธิบายการสังขารปรุงแต่งเป็น 2 เป็น 3 กี่ 3 กี่ 3 ไปแล้วล่ะ

3 ของอดีต อนาคต ปัจจุบัน กาละ 3 เพราะฉะนั้นผู้ที่จะรู้ส่วนอดีตเต็ม รู้ส่วนของอนาคตเต็ม แล้วรู้ได้ว่าอดีตกับอนาคตยังไม่จบ ต้องทั้งอดีตและอนาคตตัวที่ 7 มันเป็น 0 จึงจะจบเป็นตัวที่ 7 ของอวิชชา ที่จบ

เห็นความต่างของตัวที่ 5 กับ 6 และ 7 ไหม 5 กับ 6 มันยังไม่เที่ยงทั้งคู่ ส่วนอนาคตตัวที่ 7 มันเที่ยง ท่านก็สรุปลงที่ ความไม่รู้หรืออวิชชา ท่านแปลว่า อกุศลเหตุของโมหะ(อวิชชา 8) นี่คือสาเหตุของโมหะ 8 ข้อ

สรุปลง คุณจะมาเรียนรู้เหล่านี้จบด้วย ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ 8

 

เข้ามาสู่ปฏิจจสมุปบาท ต่อ

ขยายความไปถึงเวทนา สามเส้าของกลุ่มเวทนาคือ อายตนะ ผัสสะ เวทนา

แล้ว ขยายความแล้วว่า อายตนะก็คือคู่ 2 เหตุปัจจัย นามรูป คืออายะกับตนะ

ตนะ เป็นรูป, อายะ เป็นนาม, ตนะ เป็นบวก(เป็นเพศชาย), อายะ เป็น ลบ(อิตถีเพศ เพศหญิง)

เมื่อคุณสามารถรู้นามรูปคู่นี้ และเวทนากับอายตนะก็คือนามรูป ถ้าเกิดตัวนี้ได้ต้องมีผัสสะ  ต้องมีการกระทบ ก็ต้องกระทบหมดครบทั้ง 5 6 ตาหูจมูกลิ้นกายใจ  แล้วคุณก็ต้องทำกายก่อน

ตากระทบรูป หูกระทบเสียง คุณก็สามารถจัดการกับ เส้า 3 อายตนะ ผัสสะ เวทนา แล้วจัดการกับตัวอะไร?.. ก็คือตัวตัณหา

เมื่อผัสสะ แล้วอวิชชา มันก็เกิดตัณหาโดยที่คุณไม่รู้มีอวิชชา แต่ตอนนี้มาเรียนรู้ตามทฤษฎีกระบวนการพระพุทธเจ้าแล้ว มันก็จะรู้ตัว เหตุ ตัวมาร ตัวผี ตัวกลิ ตัวสำคัญ​ ไอ้เจ้าตัวการ คือ พลังงานตัวที่เรียกแปลเป็นภาษาไทยว่า ตัวเคลื่อนที่ของอุปาทาน

อุปาทานคือ Static ส่วนตัณหาคือ Dynamic

ตัวอย่างแล้วสั่งสมความอยากเป็นที่ตั้งที่ อุปาทาน อยากมาบำรุง อายตนะ

คุณก็สามารถที่จะรู้ตัวเหตุคือความอยาก อาการ มันเป็นอย่างไร คุณก็ต้องดูอาการ ลิงค นิมิต จากคำสอนคำอธิบาย อุเทส ที่อาตมาอุเทส

คุณก็ต้องจับผัสสะทุกผัสสะจับ อายะ คู่นี้มาแล้วรู้ให้ได้

ถ้าคุณเข้าใจเรื่องรูปกับนาม รูปเป็นเรา นามไม่ใช่เรา เป็นภาษาสิริมหามายา คุณก็ต้องดับรูปให้ได้ก่อน คุณก็ต้องดับตัวที่ไม่ใช่เราให้ได้ก่อน ฆ่ามันได้ คุณก็เหลือ 1 เป็นตัวตั้ง ตนะ อายะคือตัวนาม ตนะคือตัวรูป

แต่จริงๆแล้วพยัญชนะมันก็บอกว่า มันไม่ใช่ตัวตนหรอก ตนะ เป็นพยัญชนะสิริมหามายา เป็นตัวตนแต่ไม่ใช่ตัวเราของเราหรอก พยัญชนะ หรือสิ่งที่สมมุติที่เรียกว่าตน สิ่งที่เป็นปรมัตถ์มันเป็น 0 มันไม่มีตัวตน คือ น ไม่มี ตัวตน ตัวที่ตั้งอยู่ มันก็ไม่มี

ตะนะ สิริมหามายา ถ้ายังมีตัวตนก็ยังมีอวิชชา คุณเป็นผู้มีวิชาก็รู้ว่าอาศัยมันเท่านั้น ตัวนี้ตั้งอยู่นะ แต่มันไม่ใช่ตัวตนหรอก มันเป็นอนัตตาไม่มีตัวมีตนหรอก ไม่มี

เพราะฉะนั้นคุณรู้แล้วสภาวะมันเป็นอย่างนี้ พยัญชนะมันเป็นอย่างนี้ พยัญชนะก็เหมือนกับมันมี แต่ตัวสภาวะจริงมันไม่มีหรอก คุณก็ไม่สงสัย คุณก็ไม่งง ว่าอาศัยความมี เพื่อจัดการความไม่มี ที่เป็นสภาวะธรรม ที่เป็น  0 ที่จบแท้ คุณก็ทำสูญได้ คุณก็อาศัยสิ่งที่ให้มันมี โดยที่คุณจะไม่สงสัย คุณก็อาศัยมันไป อาตมาก็เคยอธิบาย อาศัย

อาสย จะเป็นอาศัย ก็ได้ ซึ่งมันเป็น ส รวมกันอยู่ ประชุมกันอยู่ ร่วมกันอยู่ ปรุงแต่งกันอยู่ เป็นไปกับสิ่งนั้นสิ่งนี้เรียกว่า ส กับพลังงาน ย พลังงานตัวต้นของเศษวรรคเลย ซึ่งมันเล็กละเอียดเล็กน้อยกว่า ก กับ ว

สย สว สก มันต่างกันอย่างไร แล้วไม่ต้องไปขยาย ส อย่างอื่นอีกเยอะแยะเลย มันก็ขยายความเป็นสภาวะสมมุติได้อีกเยอะแยะ

สรุปแล้ว คุณรู้จักตัณหา รู้จักตัวเหตุสำคัญ จนกระทั่งรู้หน้าตามัน แม้แต่ว่ามันจะเป็นตัว ตัณหา จริงๆแล้วมันก็ไม่ใช่ตัวเรา มันก็ไม่ใช่ตัวจริง มันก็เป็นตัวไม่จริงหรอก คำว่า ไม่จริง นี่แหละ กับคำว่า จริง นี่แหละ คุณยืนยันว่า ยืนยันว่ามันมีจริงยืนหยัดว่ามันมีจริงมันก็มีจริงสำหรับกิเลส แต่คุณมีปัญญาจริงๆฉลาดรู้ว่าโธ่เอ๋ย เอ็งมันจรมา ประเดี๋ยวเดียวเองก็มาทำให้ข้าเป็นอวิชชาข้าก็หลงไปกับเอง ตอนนี้ข้ารู้แล้ว อย่ามาจรมาเสียให้ยาก ยิ่งประจำยิ่งไม่ได้เราไม่ให้เข้า เราเป็นเรา ตอนนี้เราเป็นรูปแล้วนะ นามเป็นตัวจรมา เราก็ไม่ให้เข้าก็จบ

สุดท้าย ตน มันไม่มีหรอก มันอาศัยพยัญชนะเท่านั้น เมื่อคุณยังไม่ตาย กายสเภทาปรัมมรณา หลังจากการตายแล้ว คุณก็แยกธาตุไปเป็นอุตุธาตุไปเลยได้

อุ กับ ตุ นี่แหละคือ อะ อิ อุ สามเสา รัสสระ

อะ มันก็คือ 0 สาม 0 ต คือตัวตั้ง สามตั้ง ขอยืมพยัญชนะอะ อิ อุ มาเรียกสภาวะนี้ มันคือ 0 จริงๆ

อะ อา อิ อี อุ เอา อะ อิ อุ

ตุ ก็คือเอาที่ตั้งสั้นๆนี่แหละ อะ อิ อุ

ในสภาพพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 43 ที่บอกว่า เราอาศัย ความมีกับความไม่มีนี่แหละ โลกสมุทัย กับโลกนิโรธ ก็จะเกิดความตั้งอยู่วนอยู่ในสมุทัยหรือนิโรธ แล้วดับทุกอย่างหมดไม่มีอะไรอุบัติเลย จบความวน รู้จักความนิ่งแน่แท้ไม่มีเคลื่อน จับให้มั่นคั้นให้ตาย รู้แล้วคุณจะมีตัว 0 คุณจะมีตัว 1 ตัว 2 ตัว 3 คุณมี วสวัตติ มีจิตที่มีอำนาจเหนืออยู่แล้ว แม้กระทั่งพิสูจน์แล้วว่า เราสามารถแยกธาตุจิตนิยามให้มันเป็น 0 ได้จริงๆเลย แยกธาตุ ให้เป็นอุตุนิยามได้จริงๆตั้งแต่ตอนเป็นๆ

เมื่อสามารถที่จะรู้ตัวเหตุคือตัวตัณหา ยิ่งถ้าจะขยายพยัญชนะของตัณหาอีก

ถ้า ต ณ ตัว ณ ตัวนี้ไม่ใช่ น.หนูนะ แต่ตัณหา มีตัว ณ.เณร ไม่เต็มตัวไม่เป็นตัวเป็นตนกว่า ตน ซึ่ง ตน เป็นตัวตนกว่า ตณ ใครไปยึด ตณ ไปเป็นตัวจริง เป็น ห  (ห ของแท้ของจริง) ห หิ โหติ เป็นสิ่งที่จริง คุณก็ไปยึดเป็น ตณ ห

ห แล้วเป็นตัว ห ไม่พอ ตัณหา เป็นพหูพจน์เลย คุณก็ไปยึดตัวที่เท่าไหร่ แล้วแต่ ตน มันก็ไม่ใช่ตัวมัน มันยืมมาใช้เท่านั้นเอง คุณยังไปยึดเป็นตัวจริงอยู่ได้ ห ไม่พอ เป็นหา ไปอีก เป็นอเนกไปอีก ไม่ใช่ 1 เลย กลายเป็นหาที่สุดไม่ได้ มากจนไม่มีที่สุดเลย ไม่ใช่ 1 อย่าว่าแต่ 1 เลย 0 ก็ไม่เป็น 1 ก็ไม่เป็นเลย เป็น 2 3 4 5 ไปกันใหญ่เลย หาที่สุดไม่ได้ คุณก็เลยไม่จบ

คุณต้องรู้ทันตัณหา คุณต้องรู้อาการตัวนี้แหละ ตัวอยาก แปลเป็นไทยว่าตัวใคร่อยากตัวต้องการ อาการมันเป็นอย่างไร สภาวะเป็นอย่างไร นี้แหละ ตัวการสำคัญ อย่าให้มีอาการนี้

เพราะฉะนั้นรู้ความจริงในความเป็นจริงเมื่อผัสสะ จิตก็เฉย ในขณะสัมผัส คุณผลักก็เป็นความอยากชนิดหนึ่ง อยากไม่มี อยากไม่เป็น อยากไม่ให้เกิด ผลัก

ดูด ก็อยากให้มี อยากให้เป็น อยากให้เกิด ไม่มีก็อยากไม่ให้มี ไม่อยากให้เป็น ไม่อยากให้เกิด ใช่ไหมล่ะ มันไม่กลางๆ อ๋อ.. อันนี้เฉยๆ รู้ความจริงตามความเป็นจริงเฉยๆ คุณก็จบตรงนี้

ปฏิบัติอาการของจิตของคุณ ให้ได้เป็น อุเบกขา อย่างนี้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ !แหละ ให้เก่งอุเบกขาจนเป็น ปริโยทาตา สะอาดบริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อยสมบูรณ์แบบนี้คือ ปริโยทาตา

ไม่ลงลึกปริสุทธานะ ในพยัญชนะ

ปริสุทธา ปริโยทาตา ทำเก่งขึ้นเรื่อยๆ สั่งสมเป็น มุทุภูตธาตุ ตัว มุ ตัว ทุ ไม่ขยายพยัญชนะต่อนะ จนกระทั่งเก่งเพราะมีตัวมุทุภูตธาตุ เป็นประธานใหญ่ของเรา เพราะจะทำ

กรรมใดๆก็มีตัว มุทุ เป็นประธานของกรรมของเรา (พ่อครูไอตัดออกด้วย)

สมณะฟ้าไท...พ่อครู อธิบาย ปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียด พิสดาร แต่อย่าไปเน้นแต่พยัญชนะ

พ่อครูว่า…เพราะฉะนั้นเรารู้จักหน้าตา  อาการของตัณหาดี ว่ามันมีความไม่ดี ในความมีของมันนี้มันไม่ดีอย่างไร แล้วก็ไอ้ตัณหานี่แหละมันเป็นคู่ของอุปาทาน มันสั่งสมลง นิ่งไว้ตกผลึก เก็บใส่คลังไว้เป็นอุปาทาน เสร็จแล้วมันมีได้ทุกเหตุปัจจัยก็เคลื่อนมาเป็นตัณหา เป็นคู่สำคัญเลย ตัณหากับอุปาทาน อุปาทานเป็น Static ตัณหาเป็น Dynamic อุปาทานเป็นตัวตั้งตัณหาเป็นตัวเคลื่อน เป็นแรงเคลื่อน ขยับๆอยู่นี่ คุณรู้สภาวะเหล่านี้แล้วก็ทำให้มันไม่มีทั้งตัณหา อุปาทาน

ไม่ให้มันมีอาการกิเลส ตัวโทษตัวภัยนี่แหละเป็นตัณหาอุปาทาน ไม่ให้มันเกิดจนได้ แต่ถ้ามันเกิดอยู่ก็ตกเป็น ภพ ตกเป็นตัวที่จะโตกันต่อไป

ภว มาเป็น ภพ ตัว ว คือเศษวรรค ย ร ล ว คือพลังงานตัวที่ 4 ของ สามเส้า ตัวที่ยังไม่ยอมหยุดเสียที เป็นโลกีย์มันก็ยังไม่ไปต่อ มันก็ยังวนอยู่ มันก็ยังบ้าเท่าที่โลกีย์มันบ้า แต่ถ้าโลกุตระบ้า มันไม่ใช่โลกุตระแล้วล่ะ ขออภัยขยายความให้มันพิสดารไปเท่านั้นเอง ถ้าโลกุตระบ้าคือพวกที่เพี้ยนเลย ไปหยิบเอาอะไรมาหลงว่ามันเป็นโลกุตระ ก็จะบ้าเป็นโลกียะตามระบบระเบียบของมัน ดีคือดีชั่วคือชั่ว ถ้าโลกุตระแบบนี้ ไม่มีดีไม่มีชั่วเลย ก็เละเทะปนเปกันไป โอ้โห.. เรือหายเลย ไม่มีเรือเลย เพราะฉะนั้นอย่าให้เรือหาย

อจินไตย อโศก ทำไม ต้องมาสะสมเรือ ทำไม ก็เพราะเรือนี้เป็นพาหนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สุดยอด เป็นเรือโนอาห์ น้ำท่วมใหญ่น้ำท่วมโลก เขาไม่เอาไฟประลัยกัลป์ แต่เขาเอาน้ำท่วมโลกก็ราบ อย่างที่เทวนิยมเขารู้ อาตมาว่าพวกคุณสะสมเรือเหมือนอย่างอาตมาหรือเปล่า คุณไม่ได้สะสม อาตมาต้องจ่ายเงินเรื่องเรือไม่รู้เท่าไหร่ แต่ทำไมเราต้องไปยุ่งกับเรือมันเป็น อจินไตย

สมณะฟ้าไท ...สรุปจบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

640804_พุทธศาสนาตามภูมิ - ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 5

รายการ พุทธศาสนาตามภูมิ - ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 5 วันพุธที่ 4 สิงหาคม  2564 ณ บวรราชธานีอโศก ชมวิดีโอได้ที่นี่ ฟังเทปบันทึกเสียงได้ที่น...