วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

640625_พุทธศาสนาตามภูมิ - อานาปานสติสูตร ตอน 1

 รายการ พุทธศาสนาตามภูมิ - อานาปานสติสูตร ตอน 1
วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน  2564

ณ บวรราชธานีอโศก








ชมการบันทึกวิดีโอเทปที่นี่
ฟังเทปบันทึกเสียงได้ที่นี่


สมณะเดินดิน…วันนี้วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก เมื่อวานเป็นวันพระใหญ่และเป็นวันประชาธิปไตยไทย มีคนมารวมกลุ่มกันไล่รัฐบาล เขาบอกว่าเป็นแม่น้ำร้อยสาย เอาไปเอามาเหลือ 3 สาย จำนวนคนมานิดเดียว ก็จุดไม่ติด เขาบอกว่าเป็นเพราะสถานการณ์โควิดมันทำให้คนกลัวตายกันมากกว่าที่จะออกมา ตอนนี้ก็มีเสียงเรียกร้องให้นายกล็อกดาวน์ กทม. นายกฯ ก็ออกมาประกาศมาตรการควบคุม ให้ถูกที่ต้นตอเฉพาะจุดไป การแก้ปัญหาคงเป็นไปได้ยากหากคนขาดคุณธรรม ซึ่งพ่อครูนำเสนอโมเดลสังคมชุมชนพึ่งพาตนเองได้ แต่ก็อย่าประมาท

 

ชาวอโศกมีสัปปายะ 4

พ่อครูว่า... ชาวอโศกมีสัปปายะ 4 สถานที่อยู่ มีบุคคล มีเครื่องอาศัยต่างๆ เครื่องกินเครื่องใช้เครื่องอยู่ อะไรต่างๆที่เป็นเหตุปัจจัย เป็นบริขารต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตอาศัยอยู่ ที่สำคัญก็มีธรรมะครบ สัปปายะ 4 เป็นสังคมมนุษย์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ รวบรวมไว้มันชัดเจนสมบูรณ์ที่สุดเลย คนที่มีความรู้ก็จะรู้ว่ามนุษย์ควรจะอยู่อย่างนี้ อยู่กับหมู่ อยู่ตรงนี้สถานที่สัปปายะ 4 มันเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบจริงๆ โดยเฉพาะชาวอโศกเรามีธรรมะสัปปายะข้อที่ 4 นี้ เป็นธรรมะขั้นโลกุตระของพระพุทธเจ้าด้วย ซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆในโลก ในยุคพระพุทธเจ้าเริ่มเกิดเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา โลกุตรธรรมเกิดขึ้นก็มีคนมาใส่ใจ มาทำตามธรรมนูญของพระพุทธเจ้าคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล คือ ธรรมนูญกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ของชีวิต มายินดีอยู่ในกรอบหลักเกณฑ์อันนี้ ในสังคมก็มีกฎหมายมีหลักเกณฑ์ของเขาแต่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาก็มีหลักเกณฑ์ของท่านที่บัญญัติขึ้นมาแล้วในยุคนั้น ซึ่งเป็นยุคสมบูรณายาสิทธิราช พระเจ้าแผ่นดินแคว้นต่างๆในยุคนั้นก็ยกให้พระพุทธเจ้าทำ

หลักเกณฑ์สำคัญศีล เป็นหลักเกณฑ์สำคัญของมนุษยชาติที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีปัญญาความเฉลียวฉลาดมีความรอบรู้ โดยเฉพาะธรรมะโลกุตระซึ่งไม่มีอะไรเท่าเทียมแล้วในการเป็นมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลก อาตมาพูดไปคนก็จะว่าหลงตัวเอง แต่ว่ามันเป็นสัจจะสุดยอดของความจริง

แต่ยุคนี้ได้กลายเป็นเหมือนกลองอานกะ ที่มีเนื้อไม้มีหนังมีส่วนประกอบของกลองอานกะ เมื่อผ่านมาๆก็ถูกเปลี่ยนแปลง แทนที่มันจะเสื่อมเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ มันก็มีคนไปเปลี่ยนแปลงมันจนไม่เหลือของเก่า เลยเป็นของใหม่ มีคำสอนใหม่ มีบทที่เอามาอธิบายผิดเพี้ยนไป คนก็เข้าใจตามของใหม่หมด เลยกลายเป็นสารัตถะใหม่ ที่คนเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูก อย่างที่เป็นทุกวันนี้ที่จริงแล้วพระพุทธเจ้าท่านพยากรณ์ไว้ตั้งแต่ในยุคของท่านก็คือในยุคนี้ เป็นยุคที่ไม่มีโลกุตระแล้ว ที่เป็นจริงก็เพราะว่า

อาตมาอุบัติขึ้นมาก็แบกกลองอานกะ บอกว่าเป็นกลองของพระพุทธเจ้า เขาก็ว่าไม่ใช่ เขาเชื่อกลองอันเก่า อาตมาก็ยืนยันว่า อันนี้ของ พระพุทธเจ้า ก็มีคนมาเข้าใจได้ มาฟังสิ่งที่อาตมาอธิบายที่อาตมาเชื่อว่าถูก มีคนมาเข้าใจมาปฏิบัติตาม จนเกิดสังคมชุมชนโลกุตระอย่างที่เป็น ซึ่งเขาก็ยังไม่เข้าใจฟังไม่ออก เขาก็รู้แต่ว่าชาวอโศกแปลกไปจากคนธรรมดา ซึ่งคนเขาก็สุขด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อัตตา ก็เป็นเหมือนคนทั่วไป แต่อันนี้เป็นของอื่น ซึ่งไม่เหมือนเก่า เขาก็ว่าไม่มีหรอก

แต่พอทุกวันนี้เราแสดงตัวยืนยันมีการพิสูจน์ได้ อาตมาก็เลยค่อยยังชั่วแสดงธรรมได้เขาก็เลยต้องสงบรับฟังเพราะอาตมายืนยัน ดีที่มีพระไตรปิฎกเล่มนี้ยืนยัน อาตมาก็อ้างอิงเทียบเคียงยืนยันว่าอาตมาทำตรงพระไตรปิฎกนะ ไปเรื่อยๆ แม้เขาจะอธิบายเพี้ยน อาตมาก็อธิบายอย่างอาตมาอธิบายมันก็จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอันอื่นอย่างไม่ขัดแย้งในตัว ไปด้วยกัน เป็น  อิทัปปัจจยตาไป เขาก็เลยเงียบ ยอมจำนน หากใช้เวลาอีกสัก 50 ปีคงเยี่ยม แต่อาตมาคิดว่าคงไปไม่ไหวหรอกอีก 50 ปี ทุกวันนี้รู้สึกกำลังวังชา องค์ประกอบ มันจะลากจูงไปอย่างไร ถ้าได้สัก 120 ปี ก็เก่งที่สุดแล้ว ไม่ต้องพูดถึง 150 ปี

 

กวีจาก อ.เป็นต้น นาประโคน

 

อุปสรรคสร้างนักสู้

 

ทะเล บ่ มีคลื่นไซร้                  มิใช่ – ทะเล

พยัคฆ์ บ่ มีเขี้ยวไฉน               ดุร้าย

แม่โพสพอยู่ใน                       ท้องทุ่ง แห้งเฮย

คน บ่ มีธรรมคล้าย                  ดุร้ายกว่าเสือ

 

โรคระบาดบอกเบื้อง               อดีตสมัย

โรคห่าฆ่าบรรลัย                     มากล้น

แม่ทัพที่เกรียงไกร                  กรำศึก สูเอย (พ่อครูไอตัดออกด้วย)

ยังพ่ายแพ้ ห่อนพ้น                 กลบพื้น ปัฐพี

 

          ตระหนกตระหนักนั้น         ฝึกใจ

เป็นพุทธผิดเพี้ยนไกล                ลิบแล้ว

กระแสหลักล้าสมัย                     ผิดมรรด แปดเฮย

ดั่งราชสีห์ติดแร้ว                        ไป่รู้ งมงาย

 

ยอดบรรพต เสียดฟ้า                 บาทา เหยียบถึง

ยศศักดิ์สูงวาสนา                      หยิ่งไซร้

หลงอำนาจเงินตรา                   คุกเข่า สยบเฮย

ศพเล็กกว่าโลงไม้                     เมื่อม้วยมรณา

 

ครืน ครืน ฟ้าลั่นแล้ว                 ฤดูฝน

น้ำหลั่งสายสู่ชล                        อีกครั้ง

เฉกธรรมชาติเตือนชน              เตรียมเพาะปลูกเฮย

กาลเล่าใครจะรั้ง                       หยุดได้ ฤๅมี

 

อยู่อย่างพุทธที่แท้          เป็นไฉน

บ่ ธุดงค์หลงไพร                      หลบลี้

ธุดงค์เคร่งครัดใน                     ไตรสิก-ขาเฮย

หลงผิดพุทธยุคนี้                     ห่อนให้ใครสอน

 

โพธิสัตว์กอบกู้             ศาสนา

ชีวิตเดิมพันมา                        หนักแท้

กัปตันพุทธนาวา                     ฝ่าคลื่น มหาสมุทร

ใครเล่าจะกล้าแก้                   พุทธฟื้น คืนมา

 

 

อ.เป็นต้น นาประโคน ผู้ประพันธ์

ดั่งบุญ ธิดาพญาแร้ง ผู้บันทึก

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๔  ณ.อาวาสสถานเมฆาอโศก

ใครเล่าจะกล้าแก้ พุทธฟื้น คืนมา

 

สัมมาสมาธิกับสมาหิโตต่างกันอย่างไร

_4354 : กราบนมัสการพ่อท่านครับ สัมมาสมาธิกับสมาหิโตเหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

พ่อครูว่า...สัมมาสมาธิกับสมาหิโต มีความเหมือนแต่มีนัยยะที่แตกต่างกัน

สัมมาสมาธิ ก็เอาคำว่าสมาธิที่เขาใช้กันอยู่ทั่วไป แปลว่าสมาธิคือจิตตั้งมั่นเอามาใช้ ก็เอาคำนั้นมาใช้ว่า ถ้าเป็นสมาธิก็ต้องเป็นสมาธิแบบพระพุทธเจ้าจึงใช้ศัพท์ว่าสัมมาสมาธิ คำว่าสัมมา หมายถึงของพระพุทธเจ้า ถ้ามิจฉาไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า อะไรก็ตามที่สอนที่พูดกันถ้าผิดเพี้ยนจากของพระพุทธเจ้าด้วยความมิจฉา ถ้าถูกต้องตรงตามพระพุทธเจ้าก็เป็นสัมมา

สัมมาสมาธิ เป็นภาษาที่อธิบายกลางๆ เอาคำว่าสมาธิใช้ร่วมกับเขาแต่มีสัมมากับมิจฉานะ ส่วน

สมาหิโต เป็นของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคำperfect tense เป็นความตั้งมั่นแล้ว มีความหมายนะ สิ่งที่จะตั้งมั่นต้องมีความหมายของมันก่อน จึงเป็นความตั้งมั่น ถ้าสำเร็จได้ไม่แปลเปลี่ยนแล้วอันนี้ถือว่าตั้งมั่น แต่ถ้าสำเร็จได้แต่เปลี่ยนแปลงได้คือไม่ตั้งมั่น ความหมายคือมีคำว่าแล้ว เป็น past perfect tense

ความตั้งมั่นของพระพุทธเจ้าชัดเจนที่จะต้องรู้จักกิเลสว่ามีราคะโทสะโมหะ จิตของคนมี สราคะ สโทสะ สโมหะ กิเลส 3 ตระกูลใหญ่ ต้องทำให้มันไม่มี เป็น วีตราคะ วีตโทสะ วีตโมหะ ให้ได้ ต้องปฏิบัติให้กิเลสมันไม่มี ไม่มีอย่างต้องรู้ด้วยหลักเกณฑ์ หยั่งรู้จิตแยกจิตแยกกิเลสออก แล้วก็สามารถทำให้กิเลสลดละจางคลาย เพราะกิเลสมันไม่เที่ยง ตีแตกแน่นอน จนตีแตกแล้วก็ทำให้มันลดอำนาจลดบทบาทลดเนื้อหาลดตัวตนมันเลย ให้มันจางคลาย

ที่เขายึดถือกันไม่รู้จักจิตที่มีกิเลสเต็มๆอยู่อย่างนั้น เขาไม่เคย แล้วจิตเขาก็เที่ยงด้วยกิเลสเต็มๆ ไม่เที่ยงด้วย ว่ามันมากขึ้นก็ไม่รู้ กิเลสเติมขึ้นเขาก็ยังไม่รู้ มันไม่เที่ยงเพราะกิเลสเติมขึ้นเขาก็ไม่รู้ โดยเฉพาะให้ลดลงยิ่งไม่มีทางรู้ มันไม่เที่ยงแล้วทำให้มันลดลง กับมันไม่เที่ยงเพราะมันเติมขึ้นก็ไม่รู้ มันก็ไม่เที่ยงยิ่งหนายิ่งมากยิ่งจัดจ้านเข้าไป นับเวลาแล้วไม่มีที่สิ้นสุดได้ง่ายๆเลย น่าสงสาร พระพุทธเจ้าก็ชัดเจนให้ลดลงได้ เริ่มลดลงได้เป็น

สังขิตตังจิตตัง หรือ วิกขิตตังจิตตัง ก็คู่ที่ 4

ก็เป็นสองตระกูลของตระกูลศรัทธากับตระกูลปัญญา ตระกูลคือโคตรของมนุษย์เกิดมาก็มี 2 ตระกูลนี้ มีหลักศรัทธากับหลักปัญญา เพราะฉะนั้นก็จะต้องมาหาเรียกว่ามาตามหา อนุสารี มาตามเอาสาระแก่นสารที่มันควรจะได้เรียกว่าโลกุตระนี้ให้ได้

สายศรัทธาก็มาตามหาเรียกว่าสัทธานุสารี สายปัญญาก็มาตามหาแต่ไม่เรียกว่าปัญญานุสารี แต่เรียกว่าธัมมานุสารี ไม่เรียกเป็นกำหนดปัญญาก่อน แต่กำหนดเป็นธรรมะ แล้วก็ต้องรู้ว่าธรรมะที่ควรตามได้นี้ คืออะไร โลกุตระเป็นอย่างไรโลกียะเป็นอย่างไร

ผู้ที่ได้โลกียะ ตระกูลที่เป็นศรัทธา ยากที่จะรู้โลกุตระ เขาก็จมอยู่ในโลกีย์หนัก เขาก็มีศรัทธาวิมุติ คลุมเครือจมวนอยู่นาน กว่าจะได้โลกุตระ

แม้จะเริ่มต้นได้ไปบ้างเป็นทิฏฐิปัตตะ หมายความว่ามีทิฐิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ปัตตะคือบรรลุ บรรลุเข้าไปเป็นทิฏฐิสัมมา จะได้วิมุติแล้วผลที่ได้จาก ทิฏฐิปัตตะ กับผลที่ได้ของสัทธาวิมุติ ท่านก็จะบอกว่ามันแตกต่างกัน  ได้วิมุติ แต่นัยยะแตกต่างกัน

สัทธาวิมุติ กับทิฏฐิปัตตะ เริ่มได้วิมุติบ้างแล้วแต่ก็ต่างกัน

เริ่มจากกายสักขี คือมี ส่วนประกอบของคำว่า กาย ปรากฏเป็นสักขีพยานเป็นหลักฐานขึ้นมาให้เห็นได้ทั้งกายและใจปรากฏขึ้นมา ตัวเองเจ้าตัวได้แต่ทางตัวเองเป็นกายของตนเองของใครก็แล้วแต่ สายศรัทธาเป็นต้นก็จะได้ภายนอกภายในเป็นคู่

คำว่า กาย ลึกซึ้งมาก เอามาอธิบายยิ่งเห็นว่า อาตมาขยายความคำว่ากายมาถึงวันนี้ก็ยังเห็นว่ามีนัยยะลึกซึ้งซับซ้อนที่จะต้องพูดกันต่อไป มันมากมิติ มากนัยยะสำคัญอีกเยอะ

ท่านจะมีคำว่า น เหว โข แล้วผัสสะวิโมกข์ด้วยกาย ของปัญญาวิมุติ มีคำว่า น เนว โข เขาไปแปลว่า ไม่สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย

บุคคลกายสักขีเป็นลำดับที่ 5 ท่านก็บอกว่าสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เนื้อความคือบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นบางอย่างนะ อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ต้องมีปัญญาเห็น อาสวะมันจะหมดได้ต้องมีปัญญาเป็นตัวประหลาด ถ้าไม่มีปัญญาเป็นตัวประหลาด

สายศรัทธาไปถึงกายสักขีก็มีปัญญาเห็นอาสวะบางอย่างลด ด้วยตัวเกิดปัญญา พอไปเป็นปัญญาวิมุติ น เหวโข ท่านก็ไปแปลว่า ไม่ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ที่จริงควรแปลว่า ไม่ต้องไปกล่าวถึงว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายอีก ไม่ต้อง เพราะผ่านกายสักขีมาแล้ว ขั้นนี้เป็นขั้นที่ 6 สูงกว่าขั้นกายสักขีมาตามลำดับ แต่ท่านที่แปลไม่รู้สภาวะ ท่านก็แปลไปตาม

พยัญชนะว่าไม่ต้อง น เหว โข

ซึ่ง โข คือ ซ้ำของเก่าตามเดิม เหว คือ ความจริงอย่างนั้นแบบนั้นตามนั้นอย่างนั้น คืออันนี้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ไม่ต้องกล่าวขึ้นมาอีกเพราะสัมผัสมาแล้ว สัมผัสวิโมกข์ 8 มาแล้วปัญญาวิมุติจะมีกายมาอยู่ในนั้นแล้ว ตั้งแต่ทิฏฐิปัตตะ มีแล้ว ส่วนสัทธาวิมุติจะยังไม่มี ส่วนสายปัญญามีตั้งแต่ทิฏฐิปัตตะแล้ว ไปถึงปัญญาวิมุติก็ไม่ต้องกล่าวอีก แต่ก็ไปแปลว่า ไม่มีวิโมกข์ 8

สมาบัติของพระพุทธเจ้าก็ไม่มีการไปนั่งหลับตา มีแต่ลืมตาทั้งหมด  ปฏิบัติอย่างมีกาย มีธาตุรู้ภายนอกภายในครบ ขาดภายนอกไม่ได้เลย ซึ่งจะผิดไปจากศาสนาพุทธ

 

อธิบายเจโตปริยญาณ 16 ต่อ จาก มหัคตะ กับอมหัคตะ คือ เจริญกับไม่เจริญขึ้นกว่าเก่า แล้วส่งขึ้นไปเป็น สอุตรังจิตตัง กับ อนุตตรังจิตตังคือ จิตสูงขึ้นไปได้อีกสูงขึ้นแล้ว แต่ยังไม่จบกิจต้องสูงสุดต่อไปจนไม่มีสูงกว่านี้อีก คืออนุตตรังจิตตัง แล้วทำให้เจริญตั้งมั่นเป็นสมาหิตะ

ถ้ายังไม่ตั้งมั่นก็ทำให้ตั้งมั่น ที่ตั้งมั่นแล้วก็ตรวจสอบอีกว่าวิมุตแน่แล้วนะไม่มีอะไรเหลือที่จะไม่วิมุติแล้วหลุดพ้นสูงสุด เผื่อพอ ตรวจสอบไม่ให้ตกไม่ให้หล่นทุกๆอย่าง

สมาหิตังกับสมาธิ

จิตที่ตั้งมั่นนั้น จะต้องเกิดจากจิตที่ปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8

เกิดฌานแบบพุทธ เกิดการลดละกิเลสแบบพุทธเป็นวิชชา 8 มีวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ หมายความว่ามีฤทธิ์ทางใจในการลดกิเลสได้เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่เป็น มโนมยิทธิ เป็นฤทธิ์ทางใจที่ทายใจคนได้แม่น เป็นรูปอะไรเลอะเทอะไม่ใช่ แต่ต้องตามศีล สมาธิ ปัญญา ตามคำสอนพระพุทธเจ้า ปฏิบัติถูกตรงมีมรรคผลของศาสนาพระพุทธเจ้านั่นแหละเรียกว่าปาฏิหาริย์ตามคำสอน ไม่ใช่มีฤทธิ์  มโนมยิทธิ ก็เป็นฤทธิ์ลดละกิเลสได้ตามคำสอนพระพุทธเจ้า จนลดกิเลสได้มากเป็น อิทธิวิธญาณ มีนัยยะต่างๆหลากหลาย มีไดเวอร์ซิตี้ มีอิทธิแบบ มโนมยิทธิ หลากหลายมากมายมากขึ้นจึงเรียกว่า อิทธิวิธญาณ เป็นญาณที่เจริญขึ้นจาก มโนมยิทธิ จนเป็น โสตทิพย์

โสตทิพย์ เป็นทิพญาณ ละเอียดลึกซึ้งบางเบาเล็กน้อยอย่างไรก็รู้แยกแยะได้สามารถที่จะทำความละเอียดลออแยกกิเลสหมดสิ้นแม้จะเหลือนิด เหลือนิดกับหมดก็แยกออกได้นะ  จนทำให้หมดจริงๆได้สูงสุดเลยเรียกว่า หมดเกลี้ยงตาม โสตทิพย์

จะหมดได้ต้องตามสูตร ตามหลัก เจโตปริยญาณ 16 ที่อธิบายผ่านไปเมื่อกี้ จนตรวจสอบที่วิมุติกับอวิมุติ แล้วจิตตั้งมั่นตามหลัก จรณะ 15 วิชชา 8 จิตนั้นดับอาสวะได้ จิตทุกจิตกิเลสทุกตัวดับอาสวะได้หมด ทำให้จิตตกผลึกตั้งมั่น เรียกจิตตัวนี้ว่า สมาหิโต จิตตั้งมั่นแล้ว

เพราะฉะนั้นในจรณะ 15 ไม่มีคำว่าสมาธิ แต่มีผลกับอาสวะสิ้นหมด จิตใจสิ้นอาสวะนั้นจึงจะนับว่าเป็นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์เอามาทำให้เกิดความตั้งมั่น ต้องสมบูรณ์ด้วยวิชชา 8

เพราะฉะนั้นจิตสะอาดที่จะมาสั่งสมอันนั้นให้เป็นสัมมาสมาธิ จึงไม่ใช่แค่สมาธิทั่วไปที่เขาพูดกันอย่างตื้นอย่างง่ายที่ไม่สมบูรณ์แบบ จะต้องเจริญสมบูรณ์ด้วยจรณะ 15 วิชชา 8 แล้วจิตนั้นจึงเป็นอุเบกขาที่มี ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา

อาตมาอธิบายนี่ก็ลึกซึ้งเกินกว่าที่เขาอธิบายกัน แต่พวกเราก็คงจะรู้ได้เข้าใจดี

_สู่แดนธรรม... เท่าที่ผมจำได้ ตรวจสอบสัมมาสมาธิมีขอบเขตแค่ไหน น่าจะสิ้นสุดที่รูปฌานทั้ง 4 ก็น่าจะนับว่าเป็นสัมมาสมาธิได้แล้ว ไม่ต้องต่อไปถึง อากาสานัญจายตนะ คงจะเป็นเช่นนั้น

พ่อครูว่า... ที่จริงแล้วพูดไปอย่างนี้อธิบาย ฌาน มันก็เป็น อจินไตย เป็น ฌานวิสัยที่ลึกซึ้ง

จริงๆแล้วฌานฤาษี ไม่มีคุณสมบัติที่เป็น อรูปฌานเลย แล้วเขาก็พูดไปอย่างโก้ แต่มันมีในหลักการทั่วไป มีอรูปฌาน 4 ด้วย เขาก็เอามาทำ เพราะเขาจะเป็นสัตว์ที่ไม่มีการล้างกิเลสได้ พอไปถึงขั้น 5 อสัญญีสัตว์ ก็จะกำหนดรู้อะไรไม่ได้แล้ว จะไปกำหนดรู้วิญญาณที่เป็น อรูป ก็เป็นภาษาที่เขาหลงเพ้อไปเท่านั้น การนั่งหลับตาทำฌานไม่ได้หรอก อรูปฌานของเขา จึงเป็นนิรมาณกาย เป็นกายที่เขาเนรมิตขึ้นเองของใครของมัน อาทิสมานกาย ต่างคนต่างไม่รู้ของกันและกัน แล้วจะโมเมว่ารู้ร่วมกันเป็นสัมโภคกาย เป็นกาย 3 ที่มิจฉาทิฏฐิเป็นตัวเองตัวใครตัวมันหมดเลย เขาจะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นถ้าสัมมาทิฏฐิดีแล้ว พระพุทธเจ้าพาให้ปฏิบัติสัมมาทิฏฐิดีแล้วก็ไม่ต้องไปถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยซ้ำ ถึงที่ อากิญจัญยายตนะ ก็หมดอาสวะแท้ๆแล้ว ไม่ต้องไปทบทวนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะจะไม่มีว่า ใช่หรือไม่ใช่ก็ไม่มี เพราะญาณทัศนะของอาริยะที่สูงขึ้น จนถึงขั้นทำไปนึกถึงขั้น ฌาน ขั้นสูง สูงขั้น อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ มีวิญญาณฐีติ ตื่นรู้ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นวิญญาณฐิติจึงไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะว่ามีสัญญาร่วมปฏิบัติตลอดลืมตารู้ไม่มีอะไรพรางอะไรลึกลับอะไรบังอะไรเหล่นเหลือเลย ถึงเหลือ ข้อปฏิบัติในขณะลืมตาไม่มีอะไรสงสัย

เนวสัญญานาสัญญายตนะ แปลว่าใช่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็ไม่ใช่  มันเป็นการคลางแคลงสงสัย มันไม่ใช่ความรู้บริบูรณ์เป็นความกึ่งรู้ จะว่าใช่ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ มันมี 2 อย่าง แต่ของพระพุทธเจ้าไม่มี 2 มี 1 ตลอดถึง อากิญจัญยายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ถึงไม่ต้อง คนตอบไม่ได้ง่ายๆว่าทำไมวิญญาณฐีติจึงไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนะ

อาตมาตอบได้เพราะอาตมาชัดเจนมีจริงในเรื่องนี้ อาตมาก็ไม่เคยเห็นใครมาอธิบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเป็นคำอธิบายคำตอบของอาตมา ก็จะรู้ได้ว่าอาตมาตอบในสิ่งที่ต่างไป คนที่ตามฟังอาตมาด้วยจิตใจไม่มีอคติ เขาจะสะดุดว่าอันนี้ที่เคยข้องใจสงสัย ท่านอธิบายชัดเจน ไม่เคยได้ยิน กระจะกระจ่างชัด หากมันข้องอยู่ก็ไม่ออกมาได้หรอก ทำไมวิญญาณฐีติจึงมีแค่ 7 ทำไมไม่เป็น 8 ทำไมไม่เป็น 9 เห็นไหม

อาตมาแสดงภูมิไปก็เหมือนอวดตัวอวดตน แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะมีสิ่งที่รู้มาพูดให้ฟัง ไม่อวดก็เหมือนอวด เพราะมีสิ่งที่ตัวเองเป็นสิ่งที่ตัวเองรู้ ก็โชว์สิ่งที่ตัวเองรู้แต่คนอื่นไม่รู้ มันก็เป็นจริง อาตมาจึงจำนนในเรื่องเหล่านี้ เขาก็ขี้ตู่สำหรับคนอคติ แต่ถ้าคนไม่อคติ จะบอกว่า เหมือนกับพระสาวกบอกว่า ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเหล่านี้มาก่อนพระเจ้าข้า เป็นกุศลสุดยอดที่อุทานออกมา จะมีคำเหล่านี้อยู่เยอะ

 

_ประดับ คนเปลี่ยนโลก : ผมชอบรายการภาษาอังกฤษกับชาวอโศกครับ👌

_Taveesak Kongtuptum ทวีศักดิ์  กองทัพธรรม : อยากได้หนังสือ แต่ผมอยู่อเมริกาทำยังไงได้ครับ

_คุณใบแก้วแจ้งมาว่า ..ท่านที่สนใจรับหนังสือ กรุณาติดต่อที่

๑. ร้านหนังสือและสื่อสาร         โทร. ๐๙๕ ๖๑๘ ๙๑๕๔

๒. สนพ. กลั่นแก่น            โทร. ๐๘๖ ๔๘๖ ๗๘๖๘

๓. เพจ สำนักพิมพ์กลั่นแก่น

๔. เพจ  อโศกอักษร

 

อานาปานสติสูตร ตอน 1

พ่อครูว่า...มาอธิบาย อานาปานสติสูตร

ล.14       

พ่อครูว่า...การปฏิบัติธรรมก็ใช้สัญญาเป็นเครื่องกำหนดหมายกำหนดรู้ และก็สั่งสมเป็นความจำด้วย กำหนดรู้แล้วได้ผลแล้ว จะเป็นมิจฉาผลหรือสัมมาผลก็ตาม ก็เป็นความจำใส่สัญญาลงไป             

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

พ่อครูว่า...คำว่าอานาปานสติกับคำว่าสติปัฏฐาน 4 แยกกันไม่ได้เป็นเทวะเป็นคู่หูเหมือนกระดาษสองหน้า มีคำว่าสติทั้งคู่

อานาคือลมหายใจออก อาปานะคือลมหายใจเข้า ลมหายใจที่มีอยู่ของคนที่มีลมหายใจเข้าออกก็ต้องมีสติ ขาดสติไม่ได้เลยในการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า สติต้องเป็นสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติแล้วก็ปฏิบัติ สติปัฏฐาน

สติปัฏฐานต้องมี กาย ต้องมีกายเป็นปัฏฐานต้องมีกายเป็นฐานปฏิบัติ ถึงจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติได้

สติปัฏฐานต้องมี กาย สติต้องมีกาย มีทั้งภายนอกภายในแยกไม่ได้ กายไม่มีภายนอกไม่ได้ เพราะฉะนั้นในอานาปานสติของพวก เดียรถีย์ เป็นมิจฉาทิฏฐิไปนั่งหลับตาไม่มีกาย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาท่ามกลางพวกมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น ปฏิบัติสมาธิปฏิบัติฌานไปนั่งหลับตาทั้งนั้น ท่านก็ตรัสตามที่เป็นพื้นฐานที่เขามีอยู่ เขานั่งตั้งกายตรงดำรงสติคงมั่น แล้วก็ว่ากันไปปฏิบัติอานาปานสติ 16 ขั้นด้วยการนั่งหลับตาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

 

 [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี

พ่อครูว่า...คำว่าก็ดี คือที่อยู่ตรงไหนก็ตาม ที่ไหนก็ตาม ต้องปฏิบัติสติปัฏฐาน ปฏิบัติมีกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งนั้น การไปนั่งหลับตาอานาปานสติที่ไม่ให้รู้แม้แต่ลมหายใจก็ไม่มี คุณก็จบเลย เป็นเดียรถีย์ 100% เต็ม ไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นผู้ที่นั่งสมาธิหลับตาแล้วยังรู้จักลมหายใจเข้าออกที่มีกายเพียงเล็กน้อยก็ยังมีใยของสัมมาทิฏฐินิดนึง

เพราะฉะนั้นคุณจะต้องปฏิบัติธรรมะให้เหลือความถูกต้องสัมมาทิฏฐิ มีใยสัมมาทิฏฐินิดนึงให้โง่ทำไม ก็ให้มันเต็มๆสิ กายมีตาหูจมูกลิ้นกายก็ปฏิบัติออกมาเต็มๆ แล้วศาสนาพุทธก็ปฏิบัติเต็มๆ ตามหลักจรณะ 15 ปฏิบัติฌาน ฌานเกิดจากศีลเกิดจาก อปัณณกปฏิปทา 3 แล้วเกิด ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ วิริยะ สติ  ปัญญา คือ สัทธรรม 7 โดยมีญาณร่วมด้วยปฏิบัติธรรมไม่มี ศีล ไม่มี อปัณณกปฏิปทา 3 ไปนั่งหลับตาก็ไม่คำนึงถึงศีล แล้วไปปฏิบัติให้ไม่รับรู้ลมหายใจอีกด้วย มันผิดไปหมด

อาตมาถึงพูดอย่างไม่เกรงใจว่าคนหลับตาปฏิบัติธรรมของพุทธเดี๋ยวนี้ไม่ได้ปฏิบัติแบบพุทธ ปฏิบัติแบบลืมตากามภพก็ลืมตา แม้รูปภพ อรูปภพ ก็ปฏิบัติแบบลืมตานี่แหละ แต่ข้างนอกไม่ทำให้เกิดกิเลสได้แล้วเหลือแต่กิเลสภายในก็ล้างต่อไป รูป อรูป มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดสิ้นอาสวะก็บรรลุอรหันต์ ไม่ได้ไปหลับตาตรงไหนเลย  รูปภพ อรูปภพก็ไม่ได้ไปหลับตา เห็นไหมว่าเขามิจฉาทิฏฐิออกไปนอกรีตนอกทางกันอย่างเป็นโมฆะเลย

จึงเห็นชัดเจนว่าศาสนาพุทธ 2,500 กว่าปีนี้ กลองอานกะ ไม่เหลือซาก หมดโลกุตรธรรม เรื่องกลองอานกะ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสถึงโลกุตรธรรม

อาณิสูตร

เล่ม 8 [672] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

พ่อครูว่า...คุณยืนยันชื่อศาสนาพุทธว่ายังมีอยู่แต่เนื้อแท้ของศาสนาพุทธนั้นไม่มีแล้วไม่เหลือแล้ว พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ ซึ่งเมื่อไหร่ก็คือเมื่อนี้แหละ อาตมาเอากลองอานกะใบที่ถูกต้องของพุทธเจ้ามายืนยัน ใครฟังได้ไม่มีอคติก็จะได้ผล แต่ไปยึดถือแบบ เดียรถีย์ ไปนั่งหลับตาคุณก็จะช้าคุณก็จะไม่ได้ก็จะอยู่นอกประเทศไปตลอดกาลนาน จะหาว่าอาตมาอวดดี ก็ไม่รู้จะเอาชั่วมาอวดทำไม ต้องเอาดีมาบอกเอาถูกมาบอก เอาชั่วมาบอกทำไม

เนื้อหา อานาปานสติ 16 ขั้นนี้

สรุปว่า คุณจะปฏิบัติอยู่ป่าอยู่ถ้ำอยู่โคนไม้อยู่ในกรุงหรืออยู่ที่ไหนก็ดี จะเหมือนกันหมดเลยคือปฏิบัติให้ได้แก่นสารสาระอันนี้ อย่างนี้ต่างหากที่ท่านตรัสไว้อย่างนั้นก็เถอะอย่างใดก็ตาม อย่างนี้ก็ตามเป็นต้น ปฏิบัติยังไงที่ไหนก็ตาม แก่นสารสาระก็คือ

อันแรกให้รู้ ลิงคะ ให้รู้ ถ้าคุณจะพิจารณาแค่ลมหายใจ จะพิจารณาอะไร พิจารณา 1. อาการ 2. ลิงค 3. นิมิต ตามอุเทส

อาการของลม มันเป็นอย่างไร แล้วอาการลมเข้าอาการลมออก มันมีความต่าง ลิงค กันนะ เข้ากับออกแม้แต่แค่สั้นกับยาว ให้เห็นนัยยะของอาการของสภาวะ

แม้ลมหายใจก็รู้ ดินน้ำไฟลมภายนอกก็เห็นอาการ ลิงค นิมิต เหมือนกัน หรือทุกสรรพสิ่งก็ต้องเรียนรู้ความต่างกันของเทวะ ของสภาพ 2 จะมีนัยยะมีความต่างกันของสภาพ 2 ให้เห็น รู้อาการแล้วก็กำหนดนิมิตของตัวเอง ของใครของมัน นิมิตก็คือแต่ละผู้รู้นิมิตของตัวของตน นิมิตคือเครื่องหมายที่รู้ รู้เป็นเครื่องหมายที่ตัวเองรู้ ของใครก็ของใครสิ ว่าอย่างนี้เป็นอย่างนี้ก็คือนิมิต

เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ 1. อาการ 2. ลิงค 3. นิมิต ตามอุเทสตามที่อาตมาอธิบายขยายความให้ชัดเจนละเอียดพอสมควรแล้ว คุณเข้าใจแล้วก็เอาไปปฏิบัติตาม

 

ข้อ 4. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า(ปัสสัมภยัง กายสังขารัง สิกขติ)

พ่อครูว่า... ระงับให้ไม่ให้มันเกิดกิเลส แต่ถ้าไปนั่งหลับตาดับแม้แต่การรับรู้ลมหายใจมันก็ไม่รู้กิเลสสิ ต้องระงับกายสังขารก่อนจึงจะรู้จิตสังขาร หากปฏิบัติไม่มีกายก็ไม่เป็นไร พวกนี้จึงโมฆะหมดเลยไม่มี เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย อย่างน่าอัศจรรย์ อย่างที่อธิบายว่าจะกินข้างในแตงโมก็ต้องปอกเปลือกก่อน แต่นี่คุณเล่นกินทั้งลูกเลย นี่ก็พูดไม่รู้จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบ คือทำอย่างอุตริไม่เข้าท่าไม่ได้เรื่อง มันจะได้ผลอย่างไร

อาตมาอธิบายเน้นทุกมุมทุกเหลี่ยมเพื่อให้รู้ว่าการปฏิบัติผิดเป็นอย่างไร มันผิดยังไม่เข้าท่า ซึ่งมันน่าจะได้ฟังในสิ่งที่ถูก เพราะฉะนั้นเมื่อเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องจึงปฏิบัติให้เกิดกิเลสระงับ ต้องมีสัมผัสภายนอกจึงจะเกิดกิเลส ไม่มีสัมผัสภายนอกไม่เกิดกิเลสจริง ไม่มีตากระทบรูป  หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายต้องผัสสะข้างนอก มันไม่มีทิฎฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าต้องมีปัจจุบันชาติ มีกาลที่เป็นปัจจุบันแต่หลับตามันไม่มีปัจจุบัน มีแต่ทิฏฐิ 62 มีแต่อดีตกับอนาคต

สมณะเดินดิน…ทั้งอานาปานสติก็บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ก็บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ก็บริบูรณ์ มันก็ละกิเลสได้ทั้งหมดทุกอย่าง

พ่อครูว่า... การสำเหนียกรู้ต้องมีทั้งภายในภายนอก กำหนดรู้ว่ามันสังขารกันอยู่ กำหนดรู้ว่ามีกิเลสอะไรสังขารร่วมอยู่ คุณรู้กิเลสแล้วคุณก็พยายามทำให้กิเลสมันสงบระงับ ทีแรกก่อนจะทำให้สงบระงับ คุณก็จะต้องรู้ความเป็นจริง ปฏิสังเวที รู้สิ่งเหล่านั้นชัดเจนเป็นการรู้อย่างพ้นวิจิกิจฉา รู้อย่างที่อาตมากำลังอธิบาย แต่ไปรู้อย่างคุณปฏิบัติหลับตา มันยังไม่สัมมาทิฏฐิ ยังไม่ครบไม่บริบูรณ์ ไม่ปฏิสังเวที ความรู้ยังไม่ครบ ต้องรู้ให้ครบต้องมีภายนอกต้องมีกาย มีสติตื่นเต็ม กายไม่ใช่มีแต่ลมหายใจเหลือแต่ลม ดินน้ำไฟ วัตถุสิ่งของไม่รู้เรื่องหลับตาหลับหูปิดหูปิดจมูกไม่มีกลิ่นแล้ว มีแต่จิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่ อย่างนั้นมันจะตายไม่ตายแหล่แล้ว มันต้องรู้เต็มๆ รู้กายสังขารกันเต็มๆ

แล้วเมื่อกระทบสัมผัสกามคุณ 5 แม้แต่อบายมุข กิเลสมันเกิดเป็นปัจจุบันธรรม เป็นของจริงไม่ใช่ของอดีต ไม่ใช่ของอนาคต ปฏิบัติอยู่หลัดๆกิเลสมันเกิดอย่างนี้ คุณก็ดับกิเลสตรงนี้ คุณจะฆ่าโจร คุณก็ต้องเห็นหน้าเห็นตัวตนโจรหลัดๆนี้ แต่คุณจะฆ่าโจรคุณก็ไปหลับตา แล้วนึกเอาว่าโจรมันหน้าตาอย่างนี้ จำได้แล้วหน้าตาอดีตมันเป็นอย่างนี้ก็จะฆ่าโจรในการหลับตา หรือเขาบอกไว้ว่าโจรมันมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เป็นอนาคตยังไม่เจอโจรหรอก ถ้าเจอเมื่อไหร่ก็จะฆ่ามัน คุณก็ไปฝันอยู่กับอดีตฝันอยู่กับอนาคต แล้วคุณจะได้ฆ่าโจรไหม นั่นแหละ มันไม่มี ทิฏฐธรรม ไม่มีปัจจุบันชาติ มันไม่มีความจริง ความจริงมีแต่อยู่ในปัจจุบันเท่านั้น อดีตและอนาคตไม่ใช่ความจริง แค่เข้าใจแค่นี้ก็ไม่ได้ แล้วคุณก็จะไปงมโข่งฆ่าให้ถูกตัวมัน แต่คุณก็ไม่ได้ฆ่าตัวกิเลสจริง คุณได้แต่ฆ่ากิเลสในความจำ แล้วก็งมงายทำกันอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลนาน มันน่าสงสารจริงๆ

อาตมาพยายามขยายความ คลี่ขยายสิ่งเหล่านี้ให้ฟัง แล้วก็ขยายอย่างสำเนียงสุ้มเสียง ดุๆด้วยนะ เพราะมันดื้อด้านดึงดันเหลือเกิน จะมาฟังเราหน่อยก็ไม่ได้ ไปหลงดีในอาจารย์โง่ดึงเอาไว้อยู่นั่นแหละ ไม่โงไม่เงยขึ้นมาเลย

เมื่อเรียนรู้ความจริงได้จึงจะแยกแยะความจริงได้ว่า เราไปหลงติดจิตในจิต ที่สัมผัสแล้วจิตมันมีกิเลส แล้วก็ไปหลงกิเลส หลงยินดีปรุงแต่งได้ตามใจชอบ ก็ยินดีปรีดาปีติ ไอ้ปีติแล้วเกิดกิเลสซ้อนขึ้นมาจากการกระทบสัมผัส คุณก็มีปีติที่ไม่รู้ตัวง่ายๆ ก็ต้องเรียนรู้วิตกวิจาร วิจัยให้ออก คุณไปสังขาร กิเลสมันไปสังขารก็ต้องแยกกิเลสให้ออก สังขารได้กิเลสได้สมใจก็มีปีติ ก็ต้องรู้ตั้งแต่กิเลสเข้ามาสังขาร เมื่อรู้กิเลสแล้วก็มีดีใจเป็นอุปกิเลสซ้อน ลดได้แล้วอุปกิเลสปีติก็เกิด คุณก็ต้องวิตก วิจาร พิจารณา 2 นัยยะ รู้ทั้งพฤติกรรม รู้ทั้งความเป็นจริงในจิตที่จะรู้มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์แยกแยะให้ออก จนแยกกิเลสออกได้ ทำให้กิเลสลดได้จริง หรือมันดีใจที่ทำกิเลสลดได้จริง มันก็เป็นอุปกิเลสซ้อน มันยังไม่อุเบกขา ยังไม่สงบ ยังมีปีติ ต้องสงบเข้าไปอีกเป็น วูปสโมสุข ไม่ใช่ความสุขแบบบำเรอกิเลสสมใจ

สุขในฌาน ขอยืมคำว่าสุขมาใช้ ที่จริงมันเป็นทุกข์แต่คุณหลงว่ามันเป็นสุข ก็ต้องลดความสุขลงไปให้เป็นอุเบกขา ถ้ายังไม่ถึงขั้นเบาบางเป็นปิติเป็น ฌาน 2

ฌาน 3 จึงเริ่มเบาบางเรียกว่า สุข ว่าง มีคำว่าสุขเข้ามาแล้ว อุเบกขาจึงเรียกลดความสุขลงหมดเลย เป็นอุเบกขา เป็นเอกัคคตา ตัวที่ 4

สมณะเดินดินว่า... สรุปจบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

640804_พุทธศาสนาตามภูมิ - ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 5

รายการ พุทธศาสนาตามภูมิ - ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 5 วันพุธที่ 4 สิงหาคม  2564 ณ บวรราชธานีอโศก ชมวิดีโอได้ที่นี่ ฟังเทปบันทึกเสียงได้ที่น...